หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
วังน้อย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  คุณคือผู้เข้าชมลำดับที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๔๗๖๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๓๑๓๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
 
 
 
Untitled Document
มรดกทางวัฒนธรรม
 
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ หน้า ๕๕ - ๕๖




ศาสตราจารย์ประกิต (จิตร) บัวบุศย์ ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถานและบูรพาจารย์อีกท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ศึกษาวิจัยพบว่ามหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมสำคัญแห่งหนึ่งในสมัยต้นๆ กล่าวคือ สกุลศิลปะของสมัยคุปตะจากศูนย์กลางที่มหาวิทยาลัยนาลันทา แผ่เข้าสู่สุวรรณภูมิ (ประเทศไทย) ระยะแรกก่อนสุโขทัย - เชียงแสน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ - ๑๓๐๐ เป็นศิลปะของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เช่น พระพุทธรูปสลักหินปูนสีเทาและสีเทาหม่น ทั้งขนาด ใหญ่และขนาดย่อม (นับเป็นคลื่นพุทธศาสนาคลื่นที่ ๓) และสกุลศิลปะของสมัยปาละและเสนา จากศูนย์กลางที่มหาวิทยาลัยนาลันทาแผ่เข้าสู่สุวรรณภูมิ (ประเทศไทย) ระยะที่ ๒ ก่อนสุโขทัย - เชียงแสน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐ - ๑๘๐๐ ซึ่งเป็นช่วงที่นิกายตันตระหรือมนตรยาน และนิกายวัชรยานของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ศิลปะที่แผ่เข้ามา เช่น พระพุทธรูปสลักหินทรายสีครีมและ สีแดง (คลื่นพุทธศาสนา คลื่นที่ ๔)๖
 
 
 
 
     
 
กลับด้านบน
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕