ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฯ l  ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ l ความเป็นมาของพระไตรปิฎก CD-ROM  
หน้าหลัก

 
  ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ความเป็นมาของการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก และ อรรถกถา ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 
 


ความเป็นมาของการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก และ
อรรถกถา ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

แสวง อุดมศรี*
หน้า 1l 2

สงฺเกตวิฺาปนํ

คำย่อ
เท่ากับ
พระไตรปิฎกฉบับ
อ้างอิง
=
เกสุจิ สยามโปตฺถเกสุ
ทิสฺสมานปาโฐ
กมฺ.
=
กมฺโพชโปตฺถเก
ทิสฺสมานปาโฐ
ฉ.
=
ฉฏฺฐสงฺคีติปิฏเก
ทิสฺสมานปาโฐ
ม.
=
มรมฺมโปตฺถเก
ทิสฺสมานปาโฐ
=
สยามรฏฺ€สฺส เตปิฏเก
ทิสฺสมานปาโฐ
สี.
=
สีหฬโปตฺถเก
ทิสฺสมานปาโฐ
อิ.
=
อิงฺคลิสโปตฺถเก
ทิสฺสมานปาโฐ

นอกจากนี้ก็ได้พิจารณาถึงการใช้เครื่องหมาย บังคับอักษรตัวสะกดและตัวสังโยคควบกล้ำ ซึ่งในการปริวรรตพระไตรปิฎกฉบับอักษรขอม มาเป็นฉบับอักษรไทยปัจจุบันที่จัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นั้น ได้กำหนดให้ใช้เครื่องหมาย " อ์ " (ไม้วัญฌการหรือไม้ทัณฑฆาต) บังคับอักษรตัวสะกด เช่น กิจ์จํ, ตัป์ปติ ปุจ์ฉิส์สามิ ฯลฯ และกำหนดให้ใช้เครื่องหมาย " " (ไม้ยมักการ) บังคับอักษร ตัวสังโยคควบกล้ำ เช่น กัตวา ปัญหํ พราหมโณ ฯลฯ แต่ในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งต่อๆ มา ได้กำหนดให้ใช้เครื่องหมาย " . "(พินทุ) วางไว้ใต้อักษรทั้งที่เป็นตัวสะกดและตัวสังโยคควบกล้ำเหมือนกัน เช่น กิจ์จํ เขียนเป็น กิจฺจํ, ตัป์ปติ เขียนเป็น ตปฺปติ, ปุจ์ฉิส์สามิ เขียนเป็น ปุจฺฉิสฺสามิ ฯลฯ และ กัตวา เขียนเป็น กตฺวา, ปัญหํ เขียนเป็น ปญฺหํ, พฺราหมฺโณ เขียนเป็น พฺราหฺมโณ ฯลฯ
        การพิจารณาเกี่ยวกับเครื่องหมายที่ใช้บังคับอักษรตัวสะกดและตัวสังโยคควบกล้ำนี้ได้กระทำกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบเป็นพิเศษ ซึ่งในที่สุดทุกท่านก็มีความเห็นร่วม กันให้กำหนดใช้เครื่องหมาย " . " (พินทุ) เขียน บังคับไว้ใต้อักษรตัวสะกด เช่น กิจ์จํ เขียนเป็น กิจฺจํ, ตัป์ปติ เขียนเป็น ตปฺปติ ปุจ์ฉิส์สามิ เขียนเป็น ปุจฺฉิสฺสามิ ฯลฯ เหมือนกับเครื่องหมายที่กำหนดใช้ในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ครั้งต่อๆ มา              ส่วนเครื่องหมายที่ใช้บังคับอักษรตัวสังโยคควบกล้ำนั้น ได้กำหนดให้ใช้เครื่องหมาย " " เขียนไว้ใต้อักษรตัวสังโยคควบกล้ำนั้นๆ เช่น กัตวา เขียนเป็น กตฺวา ปัญหํ เขียนเป็น ปญฺหํ พราหมโณ เขียนเป็น พฺราหฺมโณ ฯลฯ
สำหรับการใช้เครื่องหมาย " " บังคับอักษร ที่เป็นตัวสังโยคควบกล้ำซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และศาสนบัณฑิตที่เป็นบรรพชิตและ คฤหัสถ์ดังกล่าว ได้พิจารณากำหนดใช้ในการ ตรวจชำระมหาจุฬาเตปิฏก หรือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้น ทุกท่านต่างมีความเห็นสอดคล้องกันในอันที่จะรักษาความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์สัทศาสตร์ คือ
             ๑. พยัญชนะทั้ง ๔ คือ ย ร ล ว ซึ่งถือว่า มาจาก อิ, ร มาจาก ฤ, ล มาจาก และมาจาก อุ
             ๒. อักษรซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะที่เป็นวัคคันตะ (อักษรตัวสุดท้ายของแต่ละวรรค) ยกเว้นตัว ได้แก่ ญ ณ น ม และพยัญชนะ ที่เป็นอันตัฏฐะ ๔ ตัว คือ ย ร ล ว รวมทั้งหมด ๘ ตัวนี้ ท่านกล่าวไว้ว่าเกิดแต่อก เรียก อุรสิช หรือ โอรส
             ๓. อักษรซึ่งมีสำเนียงเป็น อุสุมพยัญชนะทั้ง ๓ ประเภทนี้ เมื่อเป็นตัว สังโยคควบกล้ำกับพยัญชนะตัวใดก็ตาม ในการ ตรวจชำระมหาจุฬาเตปิฏก หรือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี้ จึงกำหนด ให้ใช้เครื่องหมาย " " เขียนไว้ใต้พยัญชนะตัว นั้นๆ ทุกแห่ง เช่น กยาหํ, กตร, เกลส, กวจ, ตณหิ, นหาสิ, อสุมห, มุยหเต วุลหเต อวหิโต รูฬหี และอายสมา หรืออายสมโต เป็นต้น
             ส่วนการจัดพิมพ์นั้นได้กำหนดให้ตีพิมพ์สระและพยัญชนะอักษรไทยเทียบเคียงกับสระ และพยัญชนะอักษรโรมัน และตัวเลขไทยเทียบเคียงกับตัวเลขอาระบิคกำกับไว้ทุกเล่ม เพื่อสะดวกแก่การถ่ายทอดและเทียบเคียงกับตัวอักษรของภาษาอื่นอีกด้วย สำหรับจำนวนพิมพ์ได้กำหนดให้ตีพิมพ์ ๒,๕๐๐ ชุด เท่ากับพุทธศักราช ๒๕๐๐ ชุดหนึ่งมีจำนวน ๔๕ เล่ม เท่ากับระยะกาลประกาศพระพุทธศาสนาของ พระพุทธเจ้า โดยแบ่งเป็นพระวินัยปิฎก ๘ เล่ม พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม และพระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม เมื่อพระไตรปิฎกฉบับนี้ตีพิมพ์เสร็จ เรียบร้อย ๒,๕๐๐ ชุด ชุดละ ๔๕ เล่มแล้ว จะเป็นหนังสือจำนวนทั้งหมดถึง ๑๑๒,๕๐๐ เล่ม

             ดังนั้น เมื่อตกลงในหลักการร่วมกันเกี่ยวกับ การตั้งชื่อ กำหนดวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ ในการตรวจชำระและจัดพิมพ์ไว้อย่างเป็นกิจลักษณะแล้ว ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) ได้มีลิขิตถวายพระพรแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อทรงนำความกราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยรับโครงการตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในโอกาสอันควรต่อไป จากนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ใช้อำนาจในตำแหน่งสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แต่งตั้งศาสนบัณฑิตผู้ทรงคุณวุฒิทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งมีรายชื่อส่วนหนึ่งดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ให้เป็นคณะกรรมการตรวจชำระและจัดพิมพ์มหาจุฬาเตปิฏก หรือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยต่อไป โดยเริ่มดำเนินการตรวจชำระตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา

ปัญหาและอุปสรรค

             การคิดทำงานใหญ่ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ อันกว้างใหญ่ไพศาล ถือเป็นเรื่องธรรมดาเหลือเกินที่จะต้องมีปัญหา และอุปสรรคเข้ามาผจญ แบบทวีตรีคูณเป็นเงาตามตัว ถ้าจะพิจารณาในด้านดีแล้ว ปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวก็มีลักษณะคล้ายกับเป็นมารตามบีบคั้นให้ผู้คิด ทำงานใหญ่ต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ประการ* (* ขุ.พุทธ. (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ๓๓/๗๖/๔๔๖) ไปในตัวให้เพิ่มมากขึ้น หากมิเช่นนั้นก็คงไม่สามารถทำงานใหญ่ให้สำเร็จประโยชน์อันกว้างใหญ่ไพศาลได้เลยโครงการตรวจชำระมหาจุฬาเตปิฏก หรือ พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถ้าพิจารณาตามหลักการแล้ว ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อันกว้างใหญ่ไพศาลต่อพระพุทธศาสนา และประเทศชาติจนสุดที่จะคณานับได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงต้องมีปัญหาและอุปสรรคเข้ามาผจญหลากหลายรูปแบบทำให้ต้องเพิ่มความพิถีพิถันในการตรวจชำระและอื่นๆ มากยิ่งขึ้นเมื่อโครงการตรวจชำระมหาจุฬาเตปิฏก หรือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทั้ง ๓ พระองค์ทรงเจริญพระราชศรัทธาด้วยการพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ละ ๗๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นพระราชทรัพย์จำนวน ๒๑๐,๐๐๐ บาท พระราชทานให้เป็นทุนเบื้องต้นสำหรับ ตีพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้ต่อไป
             พระราชทรัพย์จำนวนดังกล่าว นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันประเสริฐที่นำความ ปลื้มปีติมาให้แก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์อย่างหาที่เปรียบเทียบมิได้ และนับเป็นมูลเหตุสำคัญที่คณะกรรมการ ทุกท่านจักต้องเพิ่มวิริยะอุตสาหะในการตรวจชำระให้มากขึ้น จนสามารถดำเนินการตรวจชำระ และตีพิมพ์พระอภิธรรมปิฎก ธมฺมสงฺคณิปาลิ สำเร็จเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ ๖๐ พระวัสสา จึงนับว่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ประกาศพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสนองพระราชศรัทธาแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้กึกก้องกังวาน ไปทั่วทุกทิศานุทิศ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
             แต่แล้วโครงการตรวจชำระ ฯ ซึ่งเริ่มทำท่าว่าจะดำเนินไปด้วยความราบรื่น ก็มีเหตุให้ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ ชนิดที่ใครต่อใครต่างพากันตกตะลึงด้วยคาดไม่ถึงว่า เรื่องร้ายแรงเช่นนี้มีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไรกันแน่ ? ทำไมจึงต้องตามมาผจญกันในรูปแบบเช่นนี้..ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) ผู้ยึดถืออุดมคติประจำใจว่า จงชนะความร้ายด้วยความดี เริ่มผจญกับพญามารผู้ปรากฏร่างอยู่ในภาวะเดียว กันนับตั้งแต่วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา จนเป็นเหตุให้ท่านต้องถูกถอดยศ ปลดตำแหน่ง และถูกจับกุมคุมขังให้ต้องเสวยวิบากกรรมติดต่อกันเป็นเวลานานถึง ๔ ปีเศษ*(อ่านระเอียดของเรื่องนี้ใน พระพิมลธรรม (อาสภมหาเถร) : ผจญมาร, เทพนิมิตรการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๒๖)
             ในช่วงที่พญามารกำลังแผลงฤทธิ์อยู่นี้ กรรมการหลายท่านหมดกำลังใจและค่อยๆ ปลีกตัวออกไป ในขณะที่กรรมการประเภท ใจถึงอีกหลายท่าน ไม่ยอมทอดทิ้งงาน และยังช่วยกันตรวจสอบชำระต่อไป แต่งานก็ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เพราะขาดผู้รับผิดชอบในระดับสูงที่จะสั่งการให้งานตรวจชำระและจัดพิมพ์ดำเนินไปอย่างเป็นกิจลักษณะได้ พร้อมกันนี้ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์แพร่ไปในกลุ่มชนชั้นสูงว่าคณะกรรมการฯ มิได้นำพระราชทรัพย์ ที่เหลืออีกจำนวน ๑๔๐,๐๐๐ บาท ไปใช้จ่ายให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ แต่กลับนำไปใช้จ่ายในด้านอื่นหมดแล้ว
             ท่านผู้หญิงดิษฐการภักดี (ดร. สายหยุด เก่งระดมยิง) ซึ่งเป็นศิษย์ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างจริงจังคนหนึ่งของพระราชสิทธิมุนี (พระธรรมธีรราชมหามุนี : โชดก ญาณสิทฺธิเถร ป.ธ. ๙ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่าย วิปัสสนาธุระ วัดมหาธาตุ มรณภาพแล้วเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑) และมีความเคารพเลื่อมใสในท่านเจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) เป็นอย่างมาก เมื่อได้ทราบข่าวที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันดังกล่าว แล้วก็เกิดความไม่สบายใจ จึงไปนมัสการถามพระปิฎกโกศล (พรหมา ปญฺญาทีโป ป.ธ. ๙) และพระสุวิมลธรรมาจารย์ (ผ่อง สุวิมุตฺโต ป.ธ. ๖) ว่าความจริงของเรื่องนี้เป็นอย่างไร เมื่อได้ทราบว่าพระราชทรัพย์ที่พระราชทานมานั้นยังอยู่ครบถ้วนทุกประการ จึงได้ขอร้องให้ดำเนินการตีพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นมาอีกสองเล่ม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลสนองพระราช ศรัทธาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยเร็ว เพื่อจะได้ขจัดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวให้หมดสิ้นไป
             เมื่อพระเถระทั้งสองรูปได้ทราบความวิตกกังวลของท่านผู้หญิงดิษฐการภักดีแล้ว จึงได้ปรึกษาหารือกับกรรมการท่านอื่นๆ อย่าง ละเอียดรอบคอบ ในที่สุดทุกท่านมีความเห็นร่วมกันให้ตีพิมพ์พระไตรปิฎกสองเล่มที่ตรวจชำระถูกต้องแล้ว กล่าวคือได้ตีพิมพ์พระวินัยปิฎก มหาวิภงฺคปาลิ (ปฐมภาค) ถวายเป็นพระราชกุศลสนองพระราชศรัทธาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตีพิมพ์พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกาย สีลกฺขนฺธวคฺคปาลิ ถวายเป็นพระราชกุศลสนองพระราชศรัทธาแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ สำเร็จเรียบร้อย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ นั้นเอง
             พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่ง พ้นจากการเสวยวิบากกรรมแล้วได้ประมาณหนึ่งปีเศษได้นิมนต์และเชิญผู้ที่ยังเคารพนับถือ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์มาประชุมปรึกษาหารือ เพื่อจัดหาทุนทรัพย์มาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกที่ตรวจชำระเสร็จเรียบร้อย ไปหลายเล่มแล้ว ในที่สุดทุกท่านมีความเห็นให้ กราบทูลแด่ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ปุณฺณสิริมหาเถร) วัดพระเชตุพน แต่ครั้งยังทรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต เพื่อขอให้ทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการอุปถัมภ์ ซึ่งพระองค์ก็ได้โปรดประทานพระเมตตาด้วยความเต็มพระทัย โดยทรงแต่งตั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์หลายท่านเป็นกรรมการฝ่ายหาทุน มี พระครูประกาศสมาธิคุณ (สังเวียน ญาณเสวี) วัดมหาธาตุ เป็นประธาน เพื่อดำเนินการหาทุนต่อไป
             พระครูประกาศสมาธิคุณ พร้อมด้วย พระอาจารย์ประจวบ อธิปตฺโต วัดมหาธาตุ (ปัจจุบันลาสิกขาแล้ว คือนายประจวบ สาเกตุ) ซึ่งเป็นกรรมการฝ่ายหาทุนอีกรูปหนึ่ง ได้ขอ ความอุปถัมภ์เวลาจากสถานีวิทยุกระจายเสียง กรมการรักษาดินแดน ทำการประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์สมทบ ทุนสร้างพระไตรปิฎกฯ สามารถรวบรวมทุนทรัพย์ได้ทั้งหมด ๖๒๕,๑๕๒ บาท และได้นำขึ้นถวายโดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระองค์ ได้พระราชทานทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ให้แก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้นำไปดำเนินการตามความ ประสงค์ของผู้มีจิตศรัทธาบริจาคต่อไป ซึ่งมหาวิทยาลัยก็ได้นำทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าวนี้ ไปใช้จ่ายเป็นค่าจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฯ จำนวน ๑๐ เล่ม คือพระวินัยปิฎก ๗ เล่ม พระสุตตันตปิฎก ๒ เล่ม และพระอภิธรรมปิฎก ๑ เล่ม
             ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ย้ายสถานที่ตรวจชำระพระไตรปิฎกฯ จากหอปริยัติ คณะ ๑ ไปดำเนินงานที่ห้องมุขชั้นล่างด้านทิศตะวันออกอาคารเรียนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พร้อมกันนี้ พระธรรมปัญญาบดี (กิตฺติสารเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ และสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ ที่พระธรรมรัตนากร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฯ ชุดใหม่ ประกอบด้วยบรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้ทรงคุณวุฒิ มี พระธรรมราชานุวัตร (ทองคำ ธมฺมทฺธโช ป.ธ. ๙) วัดมหาธาตุ แต่ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระเทพเวที เป็นประธานคณะกรรมการฯ แต่การดำเนินงานก็ยังต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะการหาทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์ ซึ่งขณะนั้นพระครูประกาศสมาธิคุณต้องรับภาระเป็นประธานจัดหาทุนสร้างวัดมฤคทายวันมหาวิหาร ที่ประเทศอินเดีย อีกตำแหน่งหนึ่ง กอปรด้วยสุขภาพของท่านไม่ค่อยดีนัก จึงเป็นเหตุให้การหาทุนมาเป็นค่าจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฯ ต้องอ่อนตัวไปโดยปริยาย
             พ.ศ. ๒๕๒๕ พระธรรมราชานุวัตร (ทองคำ ธมฺมทฺธโช ประธานคณะกรรมการตรวจชำระฯ ได้มรณภาพ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งได้รับพระบัญชาให้กลับคืนสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระฯ ชุดใหม่อีก ประกอบด้วย บรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้ทรงคุณวุฒิ คือ

  พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙)
พระเมธีสุทธิพงศ์ (ระวัง วชิรญาโณ ป.ธ. ๙, พธ.บ., M.A., Ph.D)
พระราชกิตติโสภณ (ช่วง โชติมนฺโต ป.ธ. ๙)
พระราชเมธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ ป.ธ. ๘)
พระสุวิมลธรรมจารย์ (ผ่อง สุวิมตฺโต ป.ธ. ๖)
พระมหาพิณ กิตฺติปาโล ป.ธ. ๙
พระมหาคล้อย กตสาโร ป.ธ. ๙
นายเกษม บุญศรี ป.ธ. ๗
นายแปลก สนธิรักษ์ ป.ธ. ๙
นายสวัสดิ์ พินิจจันทร ป.ธ. ๙
นายปลั่ง บุญศิริ ป.ธ. ๙
นายพิทูร มลิวัลย์ ป.ธ. ๙
นายสิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. ๙
นายสังคม ศรีราช ป.ธ. ๙
นายแสวง อุดมศรี ป.ธ. ๖, พธ.บ., M.A
พระมหาโกวิทย์ สิริวณฺโณ ป.ธ. ๔ พธ.บ.
ประธาน
รองประธาน
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้นิมนต์และเชิญคณะกรรมการฯ ชุดนี้มาประชุม โดยให้ นโยบายและฝากความหวังไว้ว่า การตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เริ่มทำกันมานานแล้ว แต่ก็มีปัญหาและอุปสรรคเข้ามาขัดจังหวะอยู่เสมอๆ ทำให้งานต้องหยุด ชะงักเป็นช่วงๆ และยืดเยื้อมาจนถึงทุกวันนี้ ขอให้คณะกรรมการฯ ชุดนี้ช่วยกันตรวจชำระให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้พระไตรปิฎกฉบับนี้ มีความสมบูรณ์และถูกต้องมากที่สุด ถ้าทุกท่านมองเห็นประโยชน์ร่วมกันและยอมเสียสละ เวลาทำงานกันอย่างจริงจังแล้ว การตรวจชำระ และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้ ก็คงสำเร็จสมบูรณ์ได้ภายในเวลาไม่นานนัก เชื่อว่าตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไปคงจะไม่มีปัญหาและอุปสรรค อะไรเข้ามาขัดขวางอีกแล้ว
ต่อมาช่วง พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๘ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้แต่งตั้งกรรมการฯ เพิ่มเติม อีกหลายท่าน เพื่อเร่งงานตรวจชำระและธุรการให้รวดเร็วขึ้น คือ

  พระสุธีวราภรณ์ (โกศล โกสโล.) ป.ธ. ๙, M.A
พระศรีวิสุทธิโมลี (ชุบ มหาวีโร) ป.ธ. ๙
พระมหามนู สุมโน ป.ธ. ๙, M.A
พระมหาวัน อุตฺตโม ป.ธ. ๙
พระมหาสังคม จิตฺติญาโณ ป.ธ. ๙
พระมหาฟื้น ชุตินฺธโร ป.ธ. ๘
พระมหาประจักษ์ ธมฺมสาโร ป.ธ. ๘
พระมหาบุญถึง ชุตินฺธโร ป.ธ. ๕, พธ.บ.
พระมหาสุนทร ปญฺญาปทีโป ป.ธ. ๖, พธ.บ., M.A.
พระมหามงคล สิริมงฺคโล ป.ธ. ๖, พธ.บ.
ร.ท. บรรจบ บรรณรุจิ ป.ธ. ๙, พธ.บ.
นายสมควร เหล่าลาภะ ป.ธ. ๙, พธ.บ., M.A.
นายสวัสดิ์ ชาติเมธี ป.ธ. ๗, พธ.บ., M.A.
นายอุทิศ วรรณสัมผัส ป.ธ. ๕, พธ.บ., M.A.
นายคูณศักดิ์ พรหมศรีธรรม ป.ธ. ๕, พธ.บ., M.A.
นายสมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ. ๔, พธ.บ., M.A.

คณะกรรมการฯ ดังกล่าว ได้ร่วมกันตรวจ ชำระด้วยความเสียสละอย่างจริงจัง กอปรด้วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ หมั่นติดตาม สอบถามผลการดำเนินงานอยู่เสมอๆ จึงทำให้คณะกรรมการฯ ต้องเร่งทำงานให้รวดเร็วเพิ่มมากขึ้น เล่มใดตรวจชำระเสร็จสมบูรณ์ แล้วก็จัดส่งเข้าโรงพิมพ์เพื่อตีพิมพ์ต่อไป โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) รับหน้าที่เป็นผู้หาทุนมาเป็นค่าตีพิมพ์ไปในตัว ด้วย ส่วนพระเมธีสุทธิพงศ์ (ระวัง วชิรญาโณ) รับผิดชอบควบคุมงานตรวจชำระและจัดพิมพ์ ตลอดจนการพิสูจน์อักษร การดำเนินงานแต่ละขั้นตอนดังที่ได้กล่าวมานี้ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ความละเอียดรอบคอบ ความรับผิดชอบ และความเสียสละอย่างสูง เพื่อให้พระไตรปิฎก ฉบับนี้มีความสมบูรณ์และถูกต้องมากที่สุดเป็นสำคัญ
             มหาจุฬาเตปิฏก หรือพระไตรปิฎกฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเริ่มดำเนินการตรวจชำระกันมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ ท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคที่เข้ามาผจญ จนสุดที่จะคณานับได้ แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันประเสริฐของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงเจริญ พระราชศรัทธาพระราชทานทุนทรัพย์ส่วน พระองค์ พระองค์ละ ๗๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นพระราชทรัพย์จำนวน ๒๑๐,๐๐๐ บาท ให้เป็น พระบรมราชูปถัมภ์ธรรมวิทยาทานเบื้องต้น สำหรับสร้างพระไตรปิฎกฉบับนี้ กอปรด้วย มโนปณิธานอันแน่วแน่ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถร) ความรู้ความสามารถและความเสียสละของคณะกรรมการฯทุกคณะ ที่ได้ทุ่มเทให้แก่งานนี้สืบๆ กันมา แรงสนับสนุนและกุศลศรัทธาของพระมหาเถรานุเถระและพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ที่ให้การสนับสนุนและบริจาคทรัพย์สมทบทุนสร้างพระไตรปิฎกฉบับนี้สืบต่อกันมาโดยลำดับ จึงทำให้การตรวจชำระและจัดพิมพ์มหาจุฬาเตปิฏก หรือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำเร็จลุล่วงลงด้วยความเรียบร้อย เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๓ และนับว่าพระไตรปิฎกฉบับนี้ สามารถอำนวยคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ให้เกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทั้ง ๓ ประการ ดังเป็นที่ประจักษ์กันเป็นอย่างดีอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว


หน้า 1l 2
top