หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
วังน้อย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  คุณคือผู้เข้าชมลำดับที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๔๗๖๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๓๑๓๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
 
 
 
Untitled Document
นาลันทากับภารกิจทางวิชาการ
 
  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ หน้า ๓๙ - ๔๐




มีการค้นพบฉบับตัวเขียนมากมาย ทั้งต้นฉบับและสำเนาของพระสูตรและศาสตร์ต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาหลังจากกาลเวลาได้ผ่านมาหลายร้อยปี พระเจ้าพาลปุตรเทวะ กษัตริย์สุมาตรา (ประมาณ ๘๑๐-๕๐) ทรงสร้างวัดไว้ที่นาลันทา พระองค์ ได้ทรงขอให้พระเจ้าเทวปาละ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ปาละอุทิศภาษีที่เก็บได้จาก ๕ หมู่บ้านให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับภิกษุ และ สำเนา ฉบับตัวเขียนที่พระเจ้าพาลปุตรเทวะทรงขอให้คัดลอกจากคัมภีร์ต่าง ๆ ฉบับตัวเขียน จำนวนมากจึงน่าจะเขียนขึ้นในสมัย ราชวงศ์ ปาละ และสำเนาฉบับตัวเขียนเดิม น่าจะเขียนขึ้นหลายชุดที่นาลันทามหาวิหาร แต่มีจำนวนน้อยที่ยังคงเหลืออยู่ มีสำเนาของคัมภีร์ อัษฏสาหสริกา-ปรัชญาปารมิตา* ๓ ฉบับ ที่เขียนในยุคราชวงศ์ปาละ เป็นที่รู้จักกันดี คือ : (๑) ฉบับที่เขียนในปีที่ ๖ ของ รัชกาลพระเจ้ามหีปาละ ค้นพบที่เนปาล (๒) ฉบับที่เขียนในรัชกาลรามปาละ(ประมาณ ๑๐๘๔-๑๑๒๖) (๓) สำเนาที่จารึกในรัชกาล โควินทปาละในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๒
     


ส่วนสำเนาต้นฉบับของงานอื่น ๆ ประปราย เช่น อรถวินศิจยสูตร และอรรถกถา (มีอายุ ค.ศ.๑๑๙๙) ในนิคมวจนะของคัมภีร์ได้ระบุว่า นาลันทามหาวิหารเป็นที่พำนักของผู้แต่ง แต่คัมภีร์ค้นพบนอกเขตแดนอินเดีย๑๕ นอกจากนี้ก็มีนักปราชญ์หลายท่านที่เป็นผลผลิตของมหาวิทยาลัยนาลันทา ได้แต่งหนังสือของตัวเองหลายเล่ม เช่น จันทรกีรติ ลูกศิษย์ของท่านธรรมปาละ ศึกษาปรัชญามาธยมิกะของนาคารชุนที่นาลันทาภายใต้คำแนะนำของกมลพุทธิ หลังจากจบการศึกษาท่านก็เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่นาลันทา และได้แต่งหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับปรัชญามาธยมิกะ งานที่เด่นที่สุดของท่าน คือ มาธยมิกาวตาร นอกจากนี้ก็มี ปรสันน-ปาทะ อรรถกถาของมูลมาธยมิกการิกาเป็นต้น๑๖ ศานตรักษิต ได้เขียนงานปรัชญาสำนักโยคาจาร ชื่อ ตัตตวสงเคราะห์ และลูกศิษย์ของท่าน คือ กมลศีล ได้เขียน อรรถกถาแก้ ชื่อ ตัตตวสงเคราะห์ปัญจิกา ที่นาลันทา๑๗ นอกจากนี้ก็มีอาจารย์ชื่อเสียงหลายท่าน เช่น นาคารชุน, อสังคะ, วสุพันธุ, ทินนาคะ, ธรรมกีรติ ก็ผลิตผลงานของท่านส่วนมากที่นาลันทา
สมณะจีนเฮี่ยนจัง ได้ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาเป็นเวลา ๕ ปี (หลักฐานบางแห่งว่า ๑๕ เดือน) เพื่อศึกษาลัทธิ โยคาจาร ภายหลังท่านได้รวบรวมลัทธิ โยคาจารเป็นหนังสือชื่อ สิทธิ นอกจากนั้นท่านได้ศึกษาปรัชญาพราหมณ์ และภาษาสันสกฤตจนใช้การได้ เมื่อศึกษาอยู่ที่นั่นได้รวบรวมแปลและปริวรรตคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาสันสกฤต ๖๐๐ เล่มเมื่อท่านกลับมาเมืองจีนนำคัมภีร์กลับมาโดยการบรรทุกบนหลังม้า ๒๐ ตัว ท่านใช้ชีวิตอยู่เพื่อการแปลพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอย่างเดียวในช่วง ๑๙ ปี สุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน๑๘ สมณะจีนอี้จิง ใช้เวลาศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ๑๐ ปี ท่านได้ศึกษา รวบรวมหนังสือแปลและปริวรรตคัมภีร์ต่างๆ เป็นจำนวน ๔๐๐ เล่ม เมื่อท่านกลับ จากประเทศอินเดียกลับไปด้วย เมื่อถึงประเทศจีนแล้วท่านได้แปลคัมภีร์ต่างๆ เป็นภาษาจีนจำนวน ๕๖ เล่ม๑๙
นักปราชญ์อินเดียเดินทางไปทิเบตและจีน ได้เรียนภาษาแล้วแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน และทิเบต ในขณะเดียวกัน สมณะจีนเฮี่ยนจั๋ง เรียนภาษาสันสกฤตที่นาลันทา และแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต เป็นภาษาจีน คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นต้นฉบับภาษาสันสกฤตหลายคัมภีร์ ได้สูญหายไป แต่ที่พวกเรายังรู้ว่าคัมภีร์เหล่านี้ยังมีอยู่ก็เพราะคำแปลภาษาทิเบตและ จีนนั่นเอง๒๐ แม้ในปัจจุบันทั้งนักปราชญ์ อินเดียและชาวต่างชาติก็พยายามแปลคัมภีร์ภาษาจีนและทิเบต กลับสู่ภาษา สันสกฤตพยายามให้เหมือนต้นฉบับเดิม ที่สุด
กลับด้านบน
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕