หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
วังน้อย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  คุณคือผู้เข้าชมลำดับที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๔๗๖๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๓๑๓๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
 
 
 
Untitled Document
นาลันทากับภารกิจทางวิชาการ
 
  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ หน้า ๔๒ - ๔๔





กระแสสังคมในราชวงศ์คุปตะและราชวงศ์ปาละไม่ได้เป็นวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งหมด นาลันทาในระบบมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ รุ่งเรองที่สุดในสมัยนี้ เพราะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะนับถือลัทธิใด
ยโสวรมเทวะ (Yasovarmadeva) แห่งราชวงศ์เมาขรีแห่งกาโนช (พ.ศ. ๑๐๗๓-๑๐๗๘) ซึ่งแผ่อำนาจปกครองอาณาเขตกว้างใหญ่ รวมทั้งเอเชียกลาง ด้วย มีความสัมพันธ์ดียิ่งกับนาลันทา... กษัตริย์ที่อยู่ถิ่นไกล เช่น สุวรรณทวีป (สุมาตรา-สุวรรณภูมิ ?) และยวทวีป (ชวา) ทรงให้ความอุปถัมภ์นาลันทา
นาลันทาได้รับการจัดระบบบริหารอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญทั้งอาณาจักรและศาสนจักร นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อดินแดนที่อยู่ใกล้ชิดกัน ดินแดนโดยรอบ นาลันทาได้รับการจัดระบบบริหาร แบ่งเป็นอำเภอ(district-bhukti) ตำบล (vaisaya-taluka) และหมู่บ้าน (villages) มีหัวหน้าบริหารและมีสภาที่ปรึกษา แต่ละอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านมีตราประจำเป็นของ ตนเอง หมู่บ้านไม่น้อยกว่า ๒๐๐ แห่งให้ความอุปถัมภ์พระสงฆ์ (แห่งนาลันทา) จำนวนหลายพันรูป และหมู่บ้านเหล่านี้อยู่ในพระราชูปถัมภ
     





มีหลักฐานยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ชั้นสูง ของฝ่ายบ้านเมือง เช่น ปศุปติสิงหะ (Pasu patisimha) และเทวสิงหะ (Devasimha) ไม่ใช่ชาวพุทธ มีหลักฐานชัดเจนคือ ตรา สัญลักษณ์รูปลักษมี คเณศ ศิวลึงค์ ทุรคาเป็นต้น ซึ่งเป็นของพราหมณ์(ฮินดู) แต่ภาพตรงกันข้าม เจ้าหน้าที่ชั้นสูงเหล่านี้ให้ความอุปถัม์นาลันทามหาวิหารไม่น้อยกว่าพุทธศาสนิกชน๒๔ ในกระแสสังคมจึงมีวัฒนธรรมพราหมณ์ปรากฏทั่วไป
การจัดเตรียมเครื่องเซ่นสังเวยแบบพระเวท เช่นที่ พาลปุตรเทววิหาร แสดงว่า ไม่ใช่เป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งหมด แต่มีการรับนิสิตที่ไม่ใช่ชาวพุทธเข้ามาศึกษาและปฏิบัติแบบพราหมณ์ (Brahmana Studies and Practices)
วัฒนธรรมเชนเป็นอีกกระแสแนวคิดหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองในยุคนาลันทา ราชวงศ์คุปตะ ซึ่งเป็นศาสนิกของพราหมณ์(ardent followers of Brahmanism) ให้ความอุปถัมภ์นาลันทา (พุทธ) อุปถัมภ์ศาสนา เชน๒๕ โดยเฉพาะวัดพราหมณ์(Brahmanical Temple) ที่สร้างอุทิศ สุริยเทพ บ่อน้ำอุทิศ สุริยเทพ(Suraja-Pokhara) หลักฐานฝ่ายทิเบต กล่าวถึงการโต้เถียงกันระหว่าง พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนากับนักบวช พราหมณ์แห่งนาลันทา จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดพุทธ(Buddhist Monasteries)และวัดพราหมณ์(Brahmanical Temple) ตั้งอยู่เรียงรายใกล้เคียงกัน หันหน้าเข้าหากัน นอกจากนี้ พบเทวรูปฮินดูจำนวนมาก เช่น พระวิษณุนั่งบนหลังครุฑ วัดฮินดูนิกาย ศิวะและนิกายวิษณุ นี่คือหลักฐานที่แสดงว่า นาลันทา(พุทธ)เจริญรุ่งเรืองเคียงคู่กับลัทธิอื่น มีการต่อสู้กันเชิงวิชาการศาสนาตลอดมา๒๖
กระแสสังคมวิชาการในยุคนาลันทา นิยมการอภิปรายโต้ตอบปัญหา หาเหตุผลมาหักล้างเอาชนะกัน หรรษาวรรธนะแห่งกาโนช บันทึกไว้ว่า๒๗
นาลันทาเป็นศูนย์การศึกษาที่ยิ่งใหญ่ โดดเด่น เป็นสถาบันอภิปรายโต้ตอบ(school of discussion) โดยเฉพาะการถกเถียงปัญหาในคัมภีร์ฝ่ายมหายาน ทุกวันจะมี การจัดโต๊ะปาฐกถา ไว้ประมาณ ๑๐๐ ที่ เพื่อ ใช้เป็นเวทีอภิปรายโต้ตอบปัญหากัน อาจารย์ และนิสิตจะผลัดกันขึ้นอภิปราย ปุจฉาวิสัชนาธรรมไม่ให้เสียเวลาแม้แต่น้อย
บันทึกของหรรษาวรรธนะ เป็น หลักฐานยืนยันได้ว่า สถาบันการศึกษาในยุคนั้นมีความเข้มแข็งในด้านวิชาการจริงๆ เพราะนอกจากสถาบันการศึกษาแล้ว ยังมีเจ้าลัทธิต่างๆ ที่ตั้งสำนักสอนทฤษฎีเชิงปรัชญาและศาสนา การจัดเวทีอภิปราย โต้ตอบกันในประเด็นสำคัญ เป็นภาพที่เห็นกันอยู่ทั่วไปเชิงอรรถ

กลับด้านบน
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕