หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
วังน้อย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  คุณคือผู้เข้าชมลำดับที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๔๗๖๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๓๑๓๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
 
 
 
Untitled Document
มหาวิทยาลัยนาลันทา
 
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ หน้า ๙ - ๑๐


นาลันทาในครั้งพุทธกาล ที่ตั้งและสถานะของนาลันทา

คำว่า นาลันทา ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายครั้งในพุทธกาล เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสเกวัฏฏสูตรแก่บุตรคฤบดีชื่อเกวัฏฏะ และปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาซึ่งแก้ข้อความพระสูตรเดียวกันเมืองนาลันทาตั้งอยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ ๑ โยชน์ มีสถานะเป็นเมืองเล็ก(township) แต่เป็นสถานที่ซึ่งมีชื่อเสียง เจริญรุ่งเรือง มีคนอาศัยอยู่มาก เป็นศูนย์กลางการค้าขาย เห็นได้จากมีข้อความอ้างถึงเสมอ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จทางไกล ประทับแรม ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระสังคีติ-กาจารย์เกรงผู้อ่านจะไม่รู้ว่า สถานที่นั้นอยู่บริเวณใดแน่ ก็จะอ้างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ - ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อม ด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์...
เมืองนาลันทามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปมาเสมอ (โคจรคาม) นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญ ใกล้เคียง เช่น สวนมะม่วงชื่อ ปาวาริกะ ซึ่งทุสสิกปาวาริกเศรษฐีน้อมถวาย สวนอัมพลัฏฐิกา ปาฏลิคาม และพหุปุตตเจดีย์


นาลันทามีความสำคัญมาแต่ครั้งพุทธกาล เห็นได้จากกรณีที่พระสารีบุตรบันลือสีหนาท ประกาศความเลื่อมใสของตนในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมี ปัญญาในทางพระสัมมาสัมโพธิญาณ ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค
ถามว่า เพราะเหตุไร พระสารีบุตรจึงต้องประกาศความเลื่อมใสของตนในเมืองนาลันทา ? วิเคราะห์ได้ว่า เมืองนาลันทาเป็นศูนย์การศึกษาแม้ในครั้งพุทธกาล เป็นศูนย์รวม นักปราชญ์นักวิชาการ พระสารีบุตรซึ่งเป็นเลิศทางด้านปัญญาประสงค์ จะประกาศให้เหล่านักวิชาการแห่งนาลันทา รับรู้ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมโพธิ-ญาณของพระผู้มีพระภาค
หลักฐานที่แสดงถึงความสำคัญ ของนาลันทาอีกอย่างหนึ่ง คือ การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพรหมชาลสูตร ประกาศทิฏฐิ ๖๒ และทรงแสดงเกวัฏฏ-สูตร* แสดงภาวะนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา ทิฏฐิ ๖๒ เป็นประเด็นที่เจ้าลัทธิต่างๆ อภิปรายกันไม่รู้ จบ เพราะเป็นประเด็นเชิงอภิปรัชญา ไม่มีใครรู้จริง แต่อภิปรายกันตามความคิดเห็น พระพุทธองค์ทรงแสดงให้บรรดาเจ้าลัทธิรู้ว่า วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของทิฏฐิเหล่านี้คืออะไร มีขอบเขตเพียงไร อานิสงส์ที่เกิดจากการแสดงพระสูตรทั้ง ๒ นี้มี ๒ ระดับ คือ
(๑) ระดับวิชาการ พระพุทธองค์ทรงประกาศให้รู้ว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณครอบคลุมภูมิปัญญาทุกระดับ ทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งเป็นเรื่องเชิงวิชาการ เป็นปรัชญา พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้ง แต่ไม่ประสงค์จะอภิปรายตอบข้อสงสัย เพราะไม่มีประโยชน์ และจะกลายเป็นประเด็นให้เจ้าลัทธินำไปกล่าวอ้างในที่ต่างๆ ว่า พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ อย่างนี้
(๒) ระดับอุดมการณ์ พระพุทธองค์ทรงประกาศภาวะยิ่งใหญ่แห่งนิพพานว่า เป็นที่ดับสนิทของมหาภูตรูป เป็นที่ดับสนิทแห่งนาม ภาวะที่เรียกว่านิพพาน นี่แหละคืออุดมการณ์สูงสุดแห่งการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
กลับด้านบน
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕