หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
วังน้อย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  คุณคือผู้เข้าชมลำดับที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๔๗๖๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๓๑๓๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
 
 
 
Untitled Document
มหาวิทยาลัยนาลันทา
 
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ หน้า ๑๒ - ๑๔

จุดเริ่มต้นที่แท้จริง คือ พระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.๒๔๓ โดยประมาณ) เสด็จ จาริก แสวงบุญมาถึงบริเวณนาลันทา ทรงถวายสักการะ ณ เจดีย์(สร้างอุทิศ)พระสารีบุตร และทรงสถาปนาสารีบุตรเจดีย์ขึ้นเป็น วิหาร(วัด)๑๒
หลักฐานบางแห่งบอกว่า หลังพุทธกาล ประมาณสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้มีการรวมวัด(วิหาร)ประมาณ ๖ วัดเข้าด้วยกัน โดยล้อมกำแพง ๖ วัดให้อยู่ในเขตเดียวกัน ทำให้กลายเป็นวัดใหญ่ เรียกว่า มหาวิหาร มีสถานะเป็นแหล่งศึกษา สำคัญ๑๓ บริเวณนี้อยู่ในชัยภูมิพื้นที่เหมาะสม(ปฏิรูปเทส) ตำนานบอกว่า ก่อนที่จะมีการสร้าง โหราจารย์(หมอดู)เป็นผู้กำหนดสถานที่ให้ ซึ่งในเบื้องต้นได้สร้างเป็น วิหาร(วัด)ดังกล่าวแล้ว ต่อมาได้พัฒนาเป็นสถานศึกษาสำหรับพระสงฆ์ และได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาและวิชาการทั่วไปสำหรับชาวโลกในเวลาต่อมา มีความเจริญรุ่งเรืองเต็มที่ในยุคประมาณ พ.ศ. ๗๕๐-๑๖๐๐ ในยุคที่เจริญรุ่งเรือง เคยมีนิสิตประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน๑๔ อยู่ในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. ๘๖๓-๑๒๑๓ โดยประมาณ)
ท่านตารนาถบันทึกไว้ว่า นาลันทา เริ่มเป็นศูนย์ที่มีชื่อเสียงแห่งพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ มาตั้งแต่สมัย นาคารชุนและเจริญรุ่งเรืองต่อมาอีกหลายร้อยปี จึงสรุปได้ในชั้นนี้ว่า นาลันทาเป็นสถานที่สำคัญด้านการศึกษามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แม้ในการปฐมสังคายนา การที่พระมหากัสสปเถระได้เลือกถ้ำสัตตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์เป็นสถานที่ประกอบพิธี ไม่ใช่เพียงต้องการความอุปถัมภ์จากพระเจ้า อชาตศัตรู ไม่ใช่เพียงเพราะมีเสนาสนะสะดวกสบาย แต่เหตุผลสำคัญน่าจะอยู่ตรงที่ ราชคฤห์กับนาลันทาอยู่ติดกัน และเป็นถิ่นนักปราชญ์ เป็นศูนย์รวมนักวิชาการและเจ้า ลัทธิ พระมหากัสสปเถระประสงค์จะให้นักวิชาการรับรู้พิธีสังคายนา จึงประกอบพิธีสังคายนาที่เมืองราชคฤห์ นาลันทาในฐานะสถานศึกษาสืบทอดต่อมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และได้มีการรวมวัดเข้าด้วยกันกลายเป็นมหาวิหาร


มหาวิทยาลัยนาลันทาตั้งอยู่บนเนื้อที่ยาว ๑ ไมล์ กว้างครึ่งไมล์ (๑.๖๐๙x ๐.๘๐๔๕ = ๑.๒๙๔ ตร.กม.) สมณะ เฮี่ยนจั๋ง บันทึกไว้ว่า เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นสวนมะม่วงของเศรษฐี พ่อค้า ๕๐๐ คน ได้รวบรวมทอง ๑๐ โกฏิซื้อถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม ณ ที่นี้เป็นเวลา ๓ เดือน พ่อค้าและประชาชนเหล่านั้น บรรลุผลศักดิ์สิทธิ์ (fruit of holiness)
หลังพุทธปรินิพพานได้ไม่นาน กษัตริย์แห่งเมืองนี้ พระนามว่า ศักราทิตย์ (Sakraditya-Shikia-ložo-tžie-to) ซึ่งนับถือเอกยาน(มหายาน) ได้รับสั่งให้โหราจารย์กำหนดสถานที่ และทรงสร้างสังฆาราม เมื่อเริ่มงานก่อสร้าง ขุดดินลงไป กระทบร่างพญานาค นิครนถ์(นักบวชเปลือยนอกศาสนา)ซึ่งเป็นหมอเวทมนตร์ เห็นเหตุการณ์ จึงทำนายว่า นี่คือสถานที่ยิ่งใหญ่ (superior) ถ้าสร้างสังฆารามในที่นี้ ต่อไปต้องเป็นสถานที่มีชื่อเสียงมาก เจริญรุ่งเรืองเป็น เวลานับพันปี นิสิตทุกระดับจะมาสำเร็จการศึกษา ณ ที่นี้ แต่ที่จะมาเสียเลือดเนื้อก็มีไม่ใช่น้อย เพราะผลจากการทำพญานาคให้ได้รับบาดเจ็บ
ต่อมา พุทธคุปตะ ซึ่งเป็นพระโอรสของศักราทิตย์ สืบทอดเจตนารมณ์ของบิดา สร้างสังฆารามขึ้นอีกหลังหนึ่งเฉียงออก ไปด้านทิศใต้ ตถาคตคุปตะสร้างสังฆารามขึ้นอีกหลังหนึ่งเฉียงออกไปด้านทิศตะวัน ออก พาลาทิตย์สร้างสังฆารามขึ้นอีกหลังหนึ่งเฉียงออกด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือ เมื่องานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ได้มีการเรียกประชุมสงฆ์เพื่อเฉลิมฉลอง นอกจากนี้ ได้มีการเชิญผู้คนทุกลัทธิศาสนามาร่วมพิธี พระสงฆ์ภายในอาณาบริเวณ ๑๐,๐๐๐ ลี้ โดยรอบ (๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมิตร)มาร่วมประชุม พระสงฆ์จากเมืองจีน ๒ รูปมาประชุมช้ากว่าคนอื่นเพราะต้องอุปัฏฐากดูแลอาจารย์ซึ่งนอนป่วยอยู่* นาลันทามีสถานะ ๒ อย่างในขณะเดียวกัน คือ (๑) เป็นวัด (มหาวิหาร) (๒) เป็นมหาวิทยาลัย
กลับด้านบน
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕