ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก l ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก l พระไตรปิฎกวิจารณ์ l บทความพระไตรปิฎก  

หน้าหลัก
พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical Study of the Tipitฺaka)
   
 
หน่วยที่ ๑ โครงสร้างพระไตรปิฎก


พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ
๑. พระวินัยปิฎก
๒. พระสุตตันตปิฎก
๓. พระอภิธรรมปิฎก



๑. พระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ ส่วนใหญ่คือ
๑. ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยวินัยของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ มี ๒ เล่ม
๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยวินัยของภิกษุณี ๓๑๑ ข้อ มี ๑ เล่ม
๓. มหาวรรค ว่าด้วยขันธกะต่างๆ เช่น มหาขันธกะ เป็นต้น มี ๑๐ ขันธกะ แบ่งเป็น ๒ เล่ม
๔. จุลวรรค ว่าด้วยขันธกะต่างๆ ตั้งแต่ขันธกะที่ ๑๑-๑๒ ว่าด้วยวัตร ธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
ของพระสงฆ์ มี ๒ เล่ม
๕. ปริวาร ว่าด้วยคู่มือวินัย เป็นคำถามตอบวินัยโดยย่อๆ ทุกวิภังค์ และขันธกะ มี ๑ เล่ม

 

หน่วยการบรรยาย
ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
สังคมพุทธทัศนะ
เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
ทบทวนสรุป
ทบทวนสรุป
หนังสืออ้างอิง
 

๒. พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ ส่วนใหญ่ คือ
๑. ทีฆนิกาย รวมพระสูตรยาวๆ มีพรหมชาลสูตร เป็นต้น มี ๓ เล่ม
๒. มัชฌิมนิกาย รวมพระสูตรขนาดกลาง มีทั้งหมด ๓ เล่ม
๓. สังยุตตนิกาย รวมพระสูตรขนาดเล็กเป็นหมวดๆ มี ๕ เล่ม
๔. อังคุตตรนิกาย รวมหมวดธรรมตั้งแต่หมวดหนึ่งถึงเกิน ๑๐ มีทั้งหมด ๕ เล่ม
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมบทธรรมทั้งหลายทั้งที่ยาวและสั้นมีทั้งหมด ๑๕ คัมภีร์ มีทั้งหมด ๑๕ เล่ม

๓. พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น ๗ ส่วนใหญ่ๆ คือ
๑. สังคณี-ประมวลธรรมเป็นชุดๆ เรียกว่ามาติกา มี ๑ เล่ม
๒. วิภังค์-การจำแนกธรรมออกเป็นขันธ์ ธาตุ เป็นต้น มี ๑ เล่ม
๓. ธาตุกถา-นำข้อธรรมมาจัดเข้าในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ครึ่งเล่ม
๔. ปุคคลบัญญัติว่าด้วยบัญญัติต่างๆ มีครึ่งเล่ม
๕. กถาวัตถุ-ปัญหาถามตอบของนิกายต่างๆ ๑๘ นิกาย มี ๑ เล่ม
๖. ยมก-ว่าด้วยคำอธิบายหลักธรรมออกพิสดาร เป็นคู่ๆ มี ๒ เล่ม
๗. ปัฏฐาน-ว่าด้วยปัจจัยต่างๆ ๒๔ โดยพิสดาร มีทั้งหมด ๖ เล่ม ซึ่งอาจเขียนเป็นผังได้ดังนี้.-




top