|
พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical
Study of the Tipitฺaka)
|
|
หน่วยที่ ๙ พระพุทธศาสนากับการเกิดใหม่
การเกิดใหม่เป็นหลักการที่พระพุทธศาสนาถือว่า
ตราบใดคนยังมีอวิชชา ตัณหาอยู่การเกิดใหม่ย่อมมี การเกิดใหม่จะดับไปก็ต่อเมื่อปัจจัยการดับ
ดังกล่าวว่า
|
อิมสฺมึ สติ, อิทํ โหติ
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปชฺชติ
อิมสฺมึ อสติ อิทํ นโหติ
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติฯ |
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี
เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ |
|
|
|
และมีข้อความเป็นอันมากในพระสูตรที่แสดงว่าคนเราเมื่อทำทุจริตกรรมแล้ว
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต
ตรงข้ามเมื่อสัตว์ทำสุจริตกรรมแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
อีกแห่งหนึ่งแสดงให้เห็นว่า จิตฺเต
สงฺกิลิฏฺเฐทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมองหวังได้ว่าไปทุคคติ
จิตฺเต อสงฺ กิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง
หวังได้ว่า ไปสู่สุคติแน่นอน
ในอังคุตตรนิกายแสดงว่า
กมฺมํ เขตฺตํ, วิญฺญาณํ พีชํ,
ตณฺหาสิเนหํ กรรมเป็นเหมือนนาข้าว วิญญาณ เป็นเหมือนเมล็ดข้าวเปลือก
ตัณหา เป็นเหมือนยางในเมล็ดข้าว
องค์ประกอบทั้ง ๓ คือ
๑) กรรมดี กรรมชั่ว
ที่คนทำ
๒) วิญญาณ หรือปฏิสนธิวิญญาณ
๓) ตัณหา
คือ เจตสิกที่มีพลังสะสมอยู่ในจิตเป็นตัวสืบต่อ
วิวัฒนาการเกิดขึ้นของมนุษย์
รูปนี้เป็น กลละ ก่อน จากกลละ
เป็น อัพพุทะ จากอัพพุทะ เป็นเปสิ เป็นฆนะ จากฆนะ เกิดเป็น
๕ ปุ่ม (ปญฺจสาขา) ต่อจากนั้นก็มีผมปนเล็บเกิดขึ้น มารดาของสัตว์เกิดขึ้นในครรภ์บริโภคทั้งน้ำโภชนาการอย่างใด
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้น
ในครรภ์อินทกสูตรที่ ๑ สํ.ส. ๘๐๓ บาลี ๑๕/๓๐๓ ไทย ๑๕/๒๘๖
การเกิดขึ้นของคนมีปัจจัย ๓ ประการ คือ
๑. มารดามีระดู
๒. มารดาบิดาอยู่ร่วมสังวาสกัน
๓. สัตว์เกิดในครรภ์
ดูกร อานนท์ ถ้าวิญญาณจักไม่หยั่งลงในครรภ์มารดา
นามรูปจะพึงสถิตมั่นในครรภ์มารดาได้หรือ ?
มหาตัณหังขยสูตร
บทนี้แสดงถึงการเกิดใหม่ของพระองค์ ที่ยืนยันชัดเจน จนพระองค์ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
คือ
อเนกชาติ สํสารํ
|
สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ |
คหการํ คเวสนฺโต
|
ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ |
คหการกทิฏฺโฐสิ |
ปุน เคหํ น กาหสิ |
วิสงฺขารคตํ
จิตฺตํ |
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคาฯ |
คำแปล เมื่อเราแสวงหานายช่างสร้างเรือนได้ซึ่งแล่นไปเร่รอนในสังสารวัฏไม่รู้ว่ากี่ชาติ
การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
ดูกรนายช่างเอย เราเห็นท่านแล้ว
ท่านไม่ต้องทำเรือนเราอีกต่อไป โครงร่างเรือนของเจ้าทั้งหมดเราก็หักทำลายแล้ว
เรือนยอดเราก็ทำลายแล้ว จิตถึงการปรุงแต่งไม่ได้ ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย
พุทธอุทาน
พุทธพจน์แสดงการเกิดใหม่ของผู้มีบาป
อิท นนฺ เปจฺจนนฺทติ
|
กตปุญฺโญ อุภยตฺ นนฺทติ |
ปุญฺญํ เม
กตนฺติ นนฺทติ |
ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโตติฯ |
ผู้ทำบุญไว้ ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ เพลิดเพลินในโลกหน้า เพลิดเพลินในโลกทั้งสอง
เพลิดเพลินว่า บุญเราทำไว้แล้วหนอ ไปสู่สุคติยิ่งเพลิดเพลินโดยยิ่ง
(๒๕/๑๑/๑๗)
คนจะหมดสงสัยเรื่องตายแล้วเกิด คือพระโสดาบัน ดังพุทธพจน์
โก อิมฺ ปฐวึ
วิเชสฺสติ |
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ |
โก ธมฺมปทํ
สุเทสิตํ |
กุสโล ปุปฺผมิว เปจฺจสฺสติ |
เสโข ปฐวี
วิเชสฺสติ |
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ |
เสโข ธมฺมปทํ
สุเทสิตํ |
กุสโล ปุปฺผมิว เปจฺจสฺสตีติฯ |
(ปุพฺพวคฺค ๒๕/๑๔/๒๑)
พระเสขะ จักรู้จักแผ่นดินนี้
ยมโลกพร้อมทั้งเทวโลก
พระเสขะ จักเลือกสรรบทธรรมที่เราแสดงดีแล้ว
ดุจนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกสรรดอกไม้ฉะนั้นทรงยืนยันอริยผลว่ายอดกว่าทุกสิ่ง
ปฐวิยา เอกรชฺเชน
|
สคฺคสฺส คมเนน วา |
สพฺพโลกาธิปจฺเจน |
โสตาปตฺติผลํ วรนฺติฯ |
โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่า การเป็นเอกราชในแผ่นดิน
การไปสู่สรรค์ การเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวงและผู้ที่รู้ปฏิจจสมุปบาทดี
จะหายสงสัย ดังพุทธอุทานในมหาวรรค แห่งพระวินัยว่า
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ
ธมฺมา |
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส |
อถสฺส กงฺขา
วปยนฺติ สพฺพา |
ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ |
|
ยโต ขยํ ปจฺจายํ อเวที |
วิธูปยยํ ตฏฺฐติ
มรเสนํ |
สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติฯ |
แปลว่า ในกาลใดแล ธรรมย่อมปรากฎชัด แก่ผู้มีความเพียร มีสมาธิปัญหา
ลอยบาป ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของผู้นั้นย่อมสิ้นไปเพราะได้ทราบเหตุปัจจัย
และความรู้สิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย ขจัดมารและเสนามารได้
ดำรงตนอยู่ ดุจพระอาทิตย์พ้นจากเมฆ ส่องสว่างในท้องฟ้า
พระสูตรที่ควรดูประกอบ
๑) สัตตคติสูตร ในอังคุตตรนิกาย
๒) มหาตัณหาสังขยสูตร และอัสสาลสูตร มัชฌิมนิกาย ข้อขัดแย้งเรื่อง
อันตรภพ, จิต, โอปปาติกะ, และอนัตตา
เรื่องการเกิดใหม่นี้ พระพุทธองค์มีท่าที่ต่อผู้มาถาม
๔ แบบด้วยกันคือ.-
๑) ถ้าผู้ถามมีความเชื่ออยู่แล้วก็ทรงตรัสสอนให้เขารู้ให้ชัดยิ่งขึ้นในเรื่องการเกิดตาย
๒) ถ้าผู้ถามยังลังเลไม่แน่ใจ
ก็ทรงปล่อยให้อุ่นใจ ดังกาลามสูตรว่าคนทำดีอบอุ่นในชาตินี้
ถ้าชาติหน้ามีก็หลักประกันว่าเราไปที่ดี แต่ถ้าไม่มีหลักประกัน
เราก็สุขสบายในปัจจุบันแล้ว
๓) ถ้าผู้ถามเข้าใจผิดพระองค์ก็ทรงแก้ไขหายจากมิจฉาทิฐินั้น
๔) ถ้าผู้ถามมีทิฐิเห็นผิดอย่างรุนแรงมาถาม
เพื่อลองดี หรือหาเลศถามพระองค์จะนิ่งเสีย
อนึ่ง มีวิธีพจน์เรื่องตายแล้วเกิด ๓ แบบคือ
๑) ประจักษประมาณ พิสูจน์โดยวิธีทำสมาธิ จนได้อภิญญา จนได้ทิพพจักขุญาณ
หรือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ ก็จะเข้าใจระบบการเกิดใหม่ได้ชัดเจน
และจะหายสงสัยในที่สุด เมื่อบรรลุอาสวักขยญาณ เรียกว่า
ปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนา จนเกิดอภิญญาจิต
๒) อนุมานประมาณ พิสูจน์โดยอนุมานเอา เช่นเห็นควันก็รู้ว่ามีไฟ
เห็นคนระลึกชาติได้ เห็นความแตกต่างระหว่างคนในอินทรีย์และพละจริตนิสัย
และความสามารถทางปัญญา ซึ่งแสดงถึงว่ามีชาติก่อนจึงมีปรากฎการณ์เช่นนี้
ฉะนั้น เมื่อมีเมื่อวานจึงมีวันนี้ มีวันนี้ก็มีวันพรุ่งนี้
มีชาตินี้ก็มีชาติหน้า
๓) สัททประมาณ คือการเชื่อตามพระพุทธดำรัส ตามนัยที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์พระไตรปิฎก
โดยศรัทธาประเภทตถาคตโพธิสัทธา เมื่อพระองค์ตรัสรู้ย่อมไม่ตรัสสิ่งที่ผิด
ดังนั้น จึงเอาพระพุทธองค์เป็นเกณฑ์ย่อมจะปลอดภัย เพราะการเชื่อบัณฑิตย่อมจะมั่นคงกว่าเชื่อสามัญชนโดยเฉพาะคำสอนเกี่ยวกับคำว่าจุติจิตปฏิสนธิจิตชาติ
ชรา มรณะ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎก
เหตุผลสนับสนุนการตายและเกิด
๑. พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องตายแล้วเกิดไว้จริง
ในพระไตรปิฎกแบบตรงไปตรงมา
๒. หลักพระพุทธศาสนามีว่า การตายแล้วเกิดอีกบ่อยๆ
เป็นทุกข์ (ทุกฺขาชาติ ปุนปฺนํ) การตายแล้วไม่เป็นสุข
(เตสํ วูปสโม สุโข) และทรงยืนยันในธรรมจักรว่า
อยมนฺติมา ชาติ หตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
บัดนี้การเกิดใหม่ไม่มี
๓.คนเราแตกต่างกันที่ร่างกายและจิตใจ จึงมีทฤษฏีอธิบายถึง ๔ คือ
๓.๑
เทวลิขิต หรือพรหมลิขิต (Predestination)
๓.๒ ทฤษฎีพันธุกรรม (Heredity)
ไม่เห็นด้วย จึงค้านเรื่องตายแล้วเกิด
๓.๓ ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม (Environment)
แตกต่างเฉพาะสิ่งแวดล้อม
๓.๔ ทฤษฎีตายแล้วเกิด (Rebirth)
สามารถอธิบายคู่แฝดที่แตกต่างด้วยชาติก่อนและกรรมเก่า
๔. ทฤษฎีไอน์สไตน์ว่าด้วยกฎแห่งความคงอยู่ของพลังงาน
ได้แสดงว่า "พลังงานเป็นสิ่งที่ไม่สูญหายไปจากเอกภพ ในขณะที่สสารซึ่งเป็นรูปธรรมของพลังงานอาจแตกสลายไปได้"
ดังนั้น ทฤษฎีรูปนาม (สสารพลังงาน) ของพระพุทธเจ้าจึงเป็นความจริง
๕. มีคนระลึกชาติได้
อาจจะโดยวิธี
๕.๑ จำได้เอง
๕.๒ ถูกสะกดจิต
๕.๓ จำได้ด้วยอำนาจบปุพเพนิวาสานุสติญาณ
เกิดจากทำสมาธิเป็นคนตายแล้วฟื้น การเข้าทรง คนถูกวิญญาณสิง
๖. ปรากฎการณ์ทางวิญญาณแบบต่างๆ
(Psychic Phenomena) เป็นคนตายแล้วฟื้น การเข้าทรง คนถูกวิญญาณสิง
๗. เหตุกาณ์ร้ายดี
ในวิถีชีวิตของคนเรามีทั้งดีทั้งชั่ว และบางครั้งเหมือนไม่ยุติธรรม
แต่ก็แสดงถึงอดีตกรรมชัดเจน
๘. การเกิดขึ้นแห่งจิต ที่มีอวิชชาในแต่ละครั้ง
นับเป็นภาษาธรรมที่เรียกว่า เกิดภพในแต่ละครั้งทางจิตแล้วมีทุกข์
ดังอวิชาได้ก็เหมือนดับทุกข์
เหตุผลคัดค้านการตายแล้วเกิด
๑. ถ้าคนตายแล้วเกิดจริง ก็หมายความว่า
ต้องมีคนหนึ่งตายอีกคนหนึ่งจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง
ประชากรของโลกก็น่าจะมีจำนวนคงที่ แต่ตามความเป็นจริงปรากฎว่า
พลโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย ปฏิสนธิวิญญาณ เหล่านั้นมาจากไหน?
๒. ถ้าการจำชาติก่อนได้เป็นเรื่องจริง ทำไมคนส่วนมากจึงจำชาติก่อนไม่ได้
ทั้งๆ ที่ทุกคนล้วนมีชาติก่อนแล้วทั้งสิ้นแนวตอบ กาล เวลา
ต่างกัน จิตสำนึกจึงเลือนลาง
การกระทบกระเทือนขณะคลอด
ภวังคจิตติดต่อกันนานถึง ๗-๙
เดือน ทำให้ลืมอดีตชาติ
จิตสำนึกใหม่ทำให้จิตไร้สำนึก
ซึ่งเคยมีเมื่อเล็กๆ หายไป
หนังสืออ้างอิงประจำบท
๑. พระสุตตันตปิฎก ฉบับสยามรัฐ
ม.ม. ตท. ๑๓ : ๓๗๖ ปเจตนสูตรติ.อํ.ตท. ๒๐: ๑๒๗ มิจฉาทิฏฐิสูตร
ติ.อํ. ตทา. ๒๕.๒๕๔ ลักขณสูตร ที.ปา.ตท.ติณกัฏฐสูตร สํ.นิ.ตท.
๑๖.๑๙๙ อังคุลิมาลสุตร ม.ม. ตท. ๑๓.๓๙๖ ธมฺมปท ภาค ๕ พุทธอุทาน
ธัมมจักกับปปวัตนสูตร วิ.ม. ๔.๒๑ อาทิตต. ๔.๒๘/๖๐ พรหมสูตร
ขุ.อิ. ๒๕.๒๕๒ มหาตัณหาสังขยสูตร ม.ม. ๑๒.๓๙๘ มหานิทานสูตร
ที.ม. ๑๐.๖๘-๖๙ ขุ.ปฏิ. ๓๑.๙-๑๑ ปฏิสนธิ มหาสกุลุทายิสูตร
ม.ม.
๑๓.๓๓๓
๒. แสง จันทร์งาม, ตายแล้วเกิด,
หลักพุทธศาสนา, โครงการส่งเสริมความรู้สังคมศึกษา,
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๒๘.
๓. ตายแล้วเกิดจริงหรือ? คำอภิปรายของธัมมานันทภิกขุ
เสถียรโพธินันทะ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, ๒๕๐๔.
๔. บุญมี เมธางกูร คนตายแล้วไปเกิดได้อย่างไร
,กรุงเทพ,อภิธรรมมูลนิธิวัดพระเชตุพน ๒๕๐๓. ฯลฯ
|
|
top
|
|