๑. สาระสำคัญของอัคคัญญสูตร ๑.๑ เหตุเกิด ที่บุพพาราม สาวัตถี ๑.๒ บุคคล พระพุทธเจ้ากับสามเณร ๒ รูป วาเสฏฐกับภารทวาชะ ผู้เป็นพราหมณ์ ๑.๓ สารคำโต้ตอบ-ถูกพราหมณ์ด่าว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ บริสุทธิ์-ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากอุระของพรหม วรรณะอื่นเลวทรามเกิดจากเท้าของพรหม ๑.๔ สารคำตอบของพระพุทธเจ้า คนก็คือคน เกิดจากมารดา (นางพราหมณี) มิใช่เกิดจากพรหม คนจะเลวจะดีอยู่ที่การกระทำ มิใช่วรรณะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งปัจจุบันและอนาคต วิวัฒนาการของโลก โลกดับ โลกเย็น เกิดตัณหา - เกิดอาภัสสรพรหม ล่องลอยในจักรวาล - มีน้ำ มืดมน มีแสงสว่าง เกิดง้วนดิน สัตว์กินง้วนดิน - ร่างกายแข็ง รัศมีในตัวหายไป พระจันทร์อาทิตย์ก็ปรากฏ เดือน ปี ฤดู ก็ปรากฏ ง้วนดินดุจรวงผึ้ง เกิดการดูถูกกันด้วยวรรณะผิวพรรณ สวย-ไม่สวย ง้วนดินหมดไป อาหารอื่นกระบิดิน คล้ายเห็ด เกิดการดูหมิ่น กระบิดินหมดกลายเป็นเครือดิน ดุจผลมะพร้าว ดูหมิ่นกันด้วยวรรณะ เครือดินหมด เกิดข้าวสาลี ไม่มีรำ-แกลบ ขาวสะอาด เกิดเพศหญิง เพศชาย เพ่งดูกันจนกำหนัด เสพเมถุนกัน (เสพ อสัทธรรม) ต่อมาเกิดอายเพราะถูกดูถูกการเสพเมถุน จึงสร้างเรือนกำบังการเสพอสัทธรรม เกิดการกักตุนอาหารข้าวสาลี เพราะเกียจคร้าน เกิดการกักตุนอาหาร ข้าวสาลีจึงกลายมีแกลบมีรำ แบ่งเขตกันทำการเกษตร เกิดการละเมิดสิทธิ เกิดวีรบุรุษ คือ มหาชนสมบัติ กษัตริย์ ราชา - ประชาชนยกขึ้น - หัวหน้าเขต - ยังคนอื่นให้สุขใจโดยธรรม เกิดวรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร = หัวหน้าคน = ลอยบาป = ยึดมั่นในเมถุน ประกอบงานเป็นแผนกๆ = ทำการงานเป็นแผนก วรรณะทั้ง ๔ นี้ ทำทุจริตกรรม ไปอบาย ทำสุจริตกรรม ไปสุคติสวรรค์ ทำสุจริตกรรมทุจริตกรรม ก็สุขบ้างทุกข์บ้าง สำรวมกายวาจาใจ เจริญในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก็ปรินิพพาน วรรณะใดเป็นภิกษุ สิ้นอาสวะมีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วเพราะรู้ชอบ วรรณะนั้น ปรากฏว่าเป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย โดยธรรมแท้จริง ทรงสรุปว่า ในหมู่ชนที่รังเกียจด้วยโคตร กษัตริย์ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐที่สุด อหํปิ วาเสฏฺฐ เอวํ วทามิ ขตฺติโย เสฏฺโฐชเนตสฺมึ เย โคตฺตปฏิสาริโน วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเสติ. ที.ปา. ๑๑/๕๑-๗๒/๘๗-๑๐๗ What is Evolution Development? Any process of formation or growth; continuous process from unorganized simplicity to organized complexity. ๒. ทฤษฎีวิวัฒนาการคืออะไร ? ในศตวรรษที่ ๑๙ เกิดหลักการที่มีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ปรัชญา และศาสนามาก เราเรียกว่าทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution) ซึ่งมีหลักการว่าองค์อวัยวะของสิ่งมีชีวิตได้เจริญเติบโตมาก็โดยเนื่องมาจากปฏิบัติการทางธรรมชาติเป็นเหตุ จากรูปแบบที่ง่ายๆ ในระยะเริ่มแรก และต่อมาก็ไม่มีชาติพันธุ์ใดจะคงที่อยู่เหมือนเดิม โดยไม่เปลี่ยนแปลง นักปรัชญายอมรับความเป็นไปได้ของทฤษฎีนี้ ตัวอย่างเช่น เฮแรคลิตุส ได้ย้ำว่าความเจริญและความเปลี่ยนแปลงสถิตอยู่ในระบบหรือขบวนการของจักรวาล ในขณะที่ ลูคริตุส ยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในจักรวาลมีรากฐานที่ระบบปรมาณูและแรงผลักดันที่มีเหตุจากธรรมชาติ ในระหว่างศตวรรษที่ ๑๘ นักวิทยาศาสตร์ได้สรุปว่า สัตว์ชนิดต่างๆ อาจมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน และสิ่งแวดล้อมได้มีผลทำให้สัตว์ตระกูลต่างๆ เหล่านั้นแตกต่างกันออกไป ในศตวรรษต่อมา ก็มีคนพิสูจน์เรื่ององค์ประกอบและมิใช่องค์ประกอบที่มีผลจากธรรมชาติ ในหนังสือ Principles of Geology แสดงว่าก่อตัวขึ้นและเปลี่ยนไปโดยตัวแทนทางธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน ปี (ค.ศ. ๑๘๐๒) พ.ศ.๒๓๔๕ จีน แบบติส เดอร์ ลามาร์ค (ค.ศ. ๑๗๔๔-๑๘๒๙) ยืนยันว่าทุกอวัยวะ (องคาพยพ) มีแนวที่จะสร้างอวัยวะใหม่ขึ้น เพื่อปรับตนเองให้เข้ากับปัจจัยทางธรรมชาติที่เปลี่ยนไป ด้วยการพัฒนาอวัยวะเป็นเครื่องวัดถึงประโยชน์ของมัน การเปลี่ยนรูปร่างอวัยวะ ถูกแปรออกมาทางพันธุกรรมตามบรรพบุรุษ รูปร่างก็เปลี่ยนไปด้วย Lamark ได้ยกตัวอย่าง ยีราป ซึ่งพัฒนาคอของมันให้ยาวเพื่อกินใบไม้และ ต้นไม้ที่สูงๆ ได้ ช่วงชีวิตหนึ่งๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยต่อรุ่นต่อมา ผู้ที่ให้เกิดความฮือฮามากที่สุดคือนักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ชารลส์ ดาร์วิน (Charles Dawin ค.ศ. ๑๘๐๙-๑๘๘๒) เขาได้สรุปหลังจากได้สังเกตเป็นเวลาหลายปี ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๓๑- ๑๘๓๖ โดยศึกษาโครงกระดูก ซึ่งรวบรวมได้จากการเดินทาง บิแองเกิล โดยอาศัยชายฝั่งอเมริกาใต้ และทะเลใต้ เขาได้รับแรงบันดาลจากหนังสือ ๒ เล่ม คือ.- ๑. Principles of Geology by Lyell ๒. Essay on Population by Robert Malthus ซึ่งถือว่า ความเปลี่ยนแปลงทุกอย่างมาจากธรรมชาติ natural causes และการขยายตัวของประชากรมนุษย์และการผลิตอาหารไม่เพียงพอมีผลต่อธรรมชาติทั้งปวง ดาร์วิน ได้เขียนหนังสือชื่อว่า On the origin of Species by means of Natural Selection, or the Presentation of Favoeced Races in the Struggle for Life. (การศึกษากำเนิดมนุษย์โดยสะสมโครงกระดูกตามธรรมชาติ หรือการรักษาชาติพันธุ์ด้วยการต่อสู้เพื่อชีวิตคงอยู่) Wallace, Alfred R. ได้ศึกษาลุ่มน้ำอเมซอน และเนเธอร์แลนด์ ก็เกิด ความคิดเช่นเดียวกันกับดาร์วิน ปี ๑๘๗๑ ดาร์วินได้ตีพิมพ์เรื่อง The Descent of Man and Selection in Relation to Sex ซึ่งได้จัดความคิดให้เป็นระบบและประยุกต์กฎ (Law) แห่งโครงกระดูกมาใช้กับมนุษย์ เขาได้เสนอความเห็นไม่ตรงกับคนอื่น และสรุปว่า บรรพบุรุษของมนุษย์น่าจะเป็นสัตว์คล้ายๆลิง เมื่อเปรียบเทียบกับโครงร่างของอุรังอุตัง ซิมแปนซี่ และคอริลล่า เขาเขียนไว้อย่างไม่สะทกสะท้านว่า แม้ว่ามนุษย์จะประเสริฐเลิศลอยอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อวิเคราะห์ลึก (ชำแหละลึก) ลงไปถึงความเปลี่ยนแปลงและกฎของระบบสุริยจักรวาลแล้ว มนุษย์ก็ยังคงมีร่างกายคล้ายกัน บรรพชนซึ่งเป็นต้น กำเนิดในระยะเริ่มแรก จุดสมมติฐานของดาร์วิน ๓ ประการ คือ. ๑) พืช และสัตว์ มีบรรพบุรุษมาแต่เดิมที่สืบทอดกันมา ๒) วิวัฒนาการเกิดจากทางเลือกตามธรรมชาติ คือสร้างคนรุ่นใหม่ให้สมบูรณ์กว่าเดิม ให้ต่อสู้เพื่อดำรงตนอยู่ได้ท่ามกลางธรรมชาติ สิ่งที่อยู่ได้คือสิ่งที่สามารถปรับตัวเข้าได้กับสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสมจะถ่ายทอดผ่านทางช่วงอายุ ๓) ความแตกต่างในระหว่างชาติพันธุ์เกิดจากทางเลือกในด้านสืบพันธุ์ด้วย (Sexual Selection) ในปัจจุบัน สามารถค้นพบการแปรผันในพันธุกรรม สามารถทำได้โดยวิธีการต่างๆ เช่นการผสมเทียม การตอนต่อ แม้กระทั่งมนุษย์ในหลอดแก้ว ๓. ข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดทั้งสอง ก. ข้อเหมือน ๑) ทั้งอัคคัญญสูตร และทฤษฎีวิวัฒนาการตามธรรมชาติของมนุษย์เป็นขั้นเป็นตอน ตามเหตุปัจจัย ตามกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลก ๒)ทั้งทัศนะของพระพุทธเจ้าและดาร์วิน ต่างก็มองมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์มนุษย์เอง ด้วยการกระทำหรือการงาน ที่เรียกว่าวรรณะ ก็แบ่งด้วยเหตุผลทางการงาน มนุษย์จึงเลือกอนาคตของตนเองได้ ๓)ทั้งสองยอมรับว่า ในระยะแรกมนุษย์มีความเป็นอยู่ง่ายๆ แบบธรรมชาติ ไม่ซับซ้อน (unorganized simplicity) ต่อมาก็ได้ขยายตัวออกเป็นสังคมที่มีอารยธรรมสลับซับซ้อน (organized complexity) ข. ข้อแตกต่าง ๑) อัคคัญญสูตร เป็นผลแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นความรู้เกิดจากสัพพัญญุตญาณ-สัมมาสัมโพธิญาณ แต่ทางทฤษฎีวิวัฒนาการเกิดจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัย รวบรวมข้อมูลการสังเกตวิเคราะห์พิสูจน์ แล้วตั้งเป็นหลัก ๒) ทฤษฎีวิวัฒนาการไม่เกี่ยวข้องกับความดีความชั่ว ศีลธรรมของมนุษย์ เป็นการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลก พืช สัตว์ และมนุษย์ เท่านั้น ในขณะที่อัคคัญญสูตรได้กล่าวถึง ความดีความชั่ว ที่เรียกว่า คนจะเลวก็เพราะทุจริต จะดีก็เพราะสุจริต จะดับทุกข์ได้ก็เพราะการสำรวม และเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ และสรุปว่า ผู้ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ ๓) อัคคัญญสูตร ได้กล่าวถึงเทพประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่าอาภัสสรพรหม ซึ่งมาสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของโลก จากโลกมืด เทพสว่างจนถึงโลกสว่าง เทพมืดคือดับแสงในตัวจนถึงวิวัฒนาการของร่างกาย พืชและสิ่งแวดล้อมจนถึงเกิดวรรณะและหน้าที่ของคน แต่ทฤษฎีวิวัฒนาการ ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเทพ แต่กล่าวถึงสัตว์มีเซลล์เดียวและวิวัฒนาการมาจนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและมีกระดูกสันหลัง จนถึง apeman มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงมนุษย์ยุคประวัติศาสตร์ ๔) ผู้ค้นพบวิวัฒนาการ คือ นักวิทยาศาสตร์ตั้งแต่แฮแรคลิตุส, ลูคลิตุส, ลามาร์ค และดาร์วิน แต่ผู้แสดงอัคคัญญสูตร คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
๑. สาระสำคัญของอัคคัญญสูตร ๑.๑ เหตุเกิด ที่บุพพาราม สาวัตถี ๑.๒ บุคคล พระพุทธเจ้ากับสามเณร ๒ รูป วาเสฏฐกับภารทวาชะ ผู้เป็นพราหมณ์ ๑.๓ สารคำโต้ตอบ-ถูกพราหมณ์ด่าว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ บริสุทธิ์-ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากอุระของพรหม วรรณะอื่นเลวทรามเกิดจากเท้าของพรหม ๑.๔ สารคำตอบของพระพุทธเจ้า คนก็คือคน เกิดจากมารดา (นางพราหมณี) มิใช่เกิดจากพรหม คนจะเลวจะดีอยู่ที่การกระทำ มิใช่วรรณะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งปัจจุบันและอนาคต วิวัฒนาการของโลก
มหาชนสมบัติ กษัตริย์ ราชา
- ประชาชนยกขึ้น - หัวหน้าเขต - ยังคนอื่นให้สุขใจโดยธรรม
เกิดวรรณะ ๔ คือ
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
= หัวหน้าคน = ลอยบาป = ยึดมั่นในเมถุน ประกอบงานเป็นแผนกๆ = ทำการงานเป็นแผนก