ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก l ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก l พระไตรปิฎกวิจารณ์ l บทความพระไตรปิฎก  

หน้าหลัก
พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical Study of the Tipitฺaka)
   
  หน่วยที่ ๔ สังคมตามพุทธทัศนะ
สังคมในสมัยพุทธองค์มองจากพระไตรปิฎก เราจะเห็นว่า อาจแบ่งได้หลายลักษณะ กล่าวคือ
ก. แบ่งตามภูมิศาสตร์
นครวาสี คนเมือง (มชฺฌิม)
ชนปทวาสี คนชนบท (ปจฺจนฺต)
ข. แบ่งตามเชื้อชาติ
อริยกะ
มิลักขะ


หน่วยการบรรยาย
ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
สังคมพุทธทัศนะ
เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
ทบทวนสรุป
ทบทวนสรุป
หนังสืออ้างอิง

ค. แบ่งตามวรรณะ ๔ คือ
ขตฺติย
พฺราหฺมณ
เวสฺส
สูทฺท
จนฺฑาล
ปุกฺกุสฺส
ง. แบ่งตามลักษณะทางศาสนา ๒
ปพฺพชิต-บรรพชิต
คิหิ-คฤหัสถ์
จ. แบ่งตามลักษณะเศรษฐกิจหรืออาชีพ
เสฏฺฐี-มหาเสฏฺฐี-อนาถปิณฺฑิก-โชติก
กุฏุมฺพี-สุวณฺโณ นาม
คหปติ-จิตฺตคหปติ
สุวณฺณการ-กุมฺภาการ-หตฺถาการ
เคหการ-มาลาการ-คีตการ
เวชฺช-ติกิจฺฉก-กสก-อุยฺยาปาล
โคปาล-โคฆาตก-อชปาล
เนวิก-วาณิช-ยาจก-วณิพก
เนสาโท นายพราน
ฉ. แบ่งตามหน้าที่ในฐานะคนธรรมดา

คู่ ๑ มาตาปิตา
คู่ ๒ ครู
คู่ ๓ ภริยา, ชายา
คู่ ๔ สหาย
คู่ ๕ สสามิก
คู่ ๖ ปพฺพชิต, สมณ, พราหมณ์
- ปุตฺตธีตา
- สิสฺสา
- สามี-ปติ
- มิตฺต
- กมฺมการา
- คิหี
= พ่อแม่กับลูก
= ครูกับศิษย์
= สามีกับภรรยา
= เพื่อนกับเพื่อน
= นายกับลูกจ้าง
= นักบวชกับประชาชน
ช. แบ่งตามระบบราชการ

๑. ราชา-มหาราชา-จกฺกวตฺติราชา/ราชินี
๒. อมจฺจา, มหาอมจฺจา
๓. เสนาปติ
๔. ราชปุริส
๕. พลนิกาโย ฯลฯ
- พระมหากษัตริย์
- ข้าราชการบริหาร
- นายก
- ข้าราชการ
- ทหาร
อย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องถือหลัก ธมฺมจารี สุขํ เสต ผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นสุข จึงน่าจะเรียกว่า สังคมธัมมิก หรือ ธัมมิกสังคม ราชาก็มีธรรม ประชาชนก็มีธรรมสมณะก็มีธรรม อำมาตย์ก็มีธรรม เมื่อมีธรรมทุกฝ่ายก็อยู่เป็นสุข
จะยกธรรมตามแนวพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ดังนี้.
๑. ธรรมสำหรับทุกคน
๑.๑ ธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษย์ เช่น ศีล ๕ สัปปุริสธรรม ๗
๑.๒ ธรรมเพื่อชีวิตที่งอกงาม เช่น ปัจจัยสัมมาทิฏฐิ ๒ ทสบารมีมงคล ๓๘
๑.๓ ธรรมเตือนสติ, เช่น เทวทูต, มาร, อภิณหปัจจเวกขณ์
๒. ธรรมเพื่อความดีงามแห่งสังคม
๒.๑ ส่งเสริมชีวิตที่ดีร่วมกัน เช่น ปฏิสันถาร ๒, สังคหวัตถุ ๔, สาราณียธรรม ๖
๒.๒ ธรรมเพื่อการปกครอง-คุ้มครองชีวิตที่ดีร่วมกันคือพรหมวิหาร ๔, ราชธรรม ๑๐, จักกวัตติวัตร ๑๒
๓. ธรรมเพื่อผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์)
๓.๑ ธรรมเพื่อครอบครัวเช่น ตระกูลยั่งยืน ๔, ฆราวาสธรรม ๔, สมชีวิธรรม ๔
๓.๒ สัมพันธ์ในสังคม เช่น ทิศ ๖, มิตรแท้ มิตรเทียม
๓.๓ อยู่ดีทางเศรษฐกิจ เช่นการใช้ทรัพย์ ๔, ประโยชน์ปัจจุบัน ๔, สุขคฤหัสถ์ ๔
๓.๔ ธรรมที่พึงหลีกเว้น เช่น กรรมกิเลส ๔ อบายมุข, อนันตริยกรรม, อคติ
๔. ธรรมสำหรับบรรพชิต เช่น ธุระ ๒, ปริสุทธิศีล ๔, อภิณหปัจจเวกขณะ
๕. ธรรมสำหรับอุบาสก เช่น บุญกิริยาวัตถุ อุปาสกธรรม อุโบสถศีล ๘
๖. ธรรมสำหรับครู เช่น ลีลาการสอน ๔, กัลยาณมิตตธรรม ๗
๗. สัจจธรรม ที่ทุกคนควรเข้าใจและแจ่มแจ้ง คือ
๑. ขันธ์ ๕
๒. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
๓. อริยสัจจ์ ๔
๔. มรรค ๘
สังคมที่พึงประสงค์คือสังคมที่ดำเนินตามหลักสิงคาโลวาทสูตร เว้นจากสิ่งเลวร้ายคือ กรรมกิเลสและอบายมุข แล้วทำหน้าที่ให้ถูกทั้ง ๖ ประการตามหลักทิศ ๖ พัฒนาตน ๔ ด้าน
๑. ภาวิตกาโย
๒. ภาวิตสีโล
๓. ภาวิตจิตฺโต
๔. ภาวิตปัญญา
มีปัจจัย ๔ สมบูรณ์
มีระเบียบด้วยศีล ๕
มีจิตมั่นคงด้วยสมาธิ
มีปัญญาสูงส่งด้วยอริยชน
(อํ. ติก. ๒๐/๕๔๐/๓๒๐ ส.สฬ. ๑๘/๖๑๓-๑๙/๓๙๓-๓๙๘)

ข้อแรกจะต้องมีหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
ข้อสองจะต้องมีหลักศีลธรรมคือ ศีล ๕ และสังคหวัตถุ ๔
สาราณียธรรมและฆราวาสธรรม
ข้อสามจะต้องมีหลักสมาธิจิต รู้จักบำเพ็ญสมาธิ
ข้อสี่จะต้องมีหลักปัญญา ๓ ให้ครบถ้วน
น.พ. ประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้ว่า "แต่โบราณมามนุษย์ใฝ่ฝันถึงสังคมที่มีความสุขทั่วพร้อม ดังมีจินตนาการในเรื่องสวรรค์ ในเรื่องโลกพระศรีอารย์ เป็นการยากที่จะทำให้มนุษย์เลิกใฝ่ฝันเช่นนั้น นักคิดและนักปฏิบัติเพื่อสังคมมีจุดมุ่งหมายที่จะเห็นความสุขถ้วนหน้า (ปี ๒๕๓๘) ในสังคม สังคมที่มีความสุขถ้วนหน้าอาจมีลักษณะดังนี้.-
๑. มีงานทำ มีรายได้ มีปัจจัย ๔ ทั่วถึง
๒. มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
๓. มีครอบครัวที่เป็นสุข
๔. มีคุณธรรม จริยธรรม
๕. มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
๖. มีสุขภาพจิตดี มีความพอใจในชีวิต และสังคม


G.I. = Good Income
G.S. = Good Security
G.F. = Good Family
G.V. = Good Virtue
G.E. = Good Environment
G.M. = Good Mental Health

top
 
s