ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก l ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก l พระไตรปิฎกวิจารณ์ l บทความพระไตรปิฎก  

หน้าหลัก
พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical Study of the Tipitฺaka)
   
  หน่วยที่ ๗ พระพุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์
ประเด็นที่พึงศึกษา
(๑) จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนากับของวิทยาศาสตร์
(๒) ความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
(๓) ความคิดแบบพุทธกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(๔) ความสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

หน่วยการบรรยาย
ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
สังคมพุทธทัศนะ
เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
ทบทวนสรุป
ทบทวนสรุป
หนังสืออ้างอิง
๑. จุดมุ่งหมายของวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสตร์

วิทยาศาสตร์ พุทธศาสตร์
- แก้ไขปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

- ต้องการรู้จักกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
- เข้าใจกฎเกณฑ์ธรรมชาติในนิยาม ๕ คือ อุตุ, พีช, จิต,
กรรม, ธรรมชาติ
- ต้องการให้รู้กฎเกณฑ์ความจริงของชีวิตมนุษย์

๒. ความเชื่อ ตามหลักวิทยาศาสตร์ การจะเชื่อสิ่งใดต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน เอาปัญญาและเหตุผลเป็นตัวตัดสินความจริง หลักพุทธศาสนาถือว่า ความจริงจะต้องพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติ ดุจหลัก กาลามสูตร และที่ไหนมีศรัทธาที่นั่นจะต้องมีปัญญา

๓. ความคิดแบบพุทธกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์คล้ายกันคือ
๓.๑ สืบสาวหาเหตุผลของปรากฏการณ์และของทุกข์
๓.๒ การเริ่มต้นหาความจริงจากประสบการณ์ อายตนะ และสภาวธรรม คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๓.๓ กระบวนความคิด มีดังนี้

กระบวนการวิทยาศาสตร์
กระบวนการพุทธศาสตร์
๑. ตั้งปัญหาให้ชัด
๒. ตั้งคำถามชั่วคราวเพื่อตอบทดสอบ
๓. รวบรวมข้อมูล
๔. วิเคราะห์ข้อมูล
๕. ถ้าคำตอบชั่วคราวถูกตั้งทฤษฎีไว้
๖. นำไปประยุกต์แก้ปัญหา
๑. ทุกข์-ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
๒. หาคำตอบจากลัทธิ
๓. ลองปฏิบัติโยคะ
๔. รวบรวมผลการปฏิบัติ
๕. ผิดก็เปลี่ยน ถูกก็ดำเนินถึงจุดหมาย
๖. เผยแผ่แก่ชาวโลก

๔. ความสอดคล้องและความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์
๔.๑ หลักไตรลักษณ์ คืออนิจจัง (impermanent) ทุกขัง (conflict) และอนัตตา (no-self)
๔.๒ การยอมรับโลกที่อยู่พ้นสสารวัตถุ (Metaphysics) ทั้งวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์ยอมรับสสารวัตถุ ซึ่งรู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ว่ามีจริง โลกที่พ้นจากสสารวัตถุวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับเพราะเชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่จะต้องตัดสินความจริง
พุทธศาสนาเชื่อว่า สัจธรรมชั้นสูงคือมรรค ผล นิพพาน ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยปัญญินทรีย์
๔.๓ การอธิบายความจริง
วิทยาศาสตร์ถือว่า ความจริงเป็นสิ่งสาธารณะสามารถพิสูจน์ได้สัจธรรมทางพุทธ มีทั้งสิ่งสาธารณะและปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ - อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน
สรุปความว่า ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสตร์ กับ วิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือวิทยาศาสตร์ไม่สนใจเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว วางตัวเป็นกลางในเรื่องถูกผิด การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ให้ทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ส่วนคำสอนทางพุทธ-ศาสนานั้น เป็นเรื่องศีลธรรม ความดี ความชั่ว มุ่งที่จะให้มนุษย์ในสังคมมีความสุขเป็นลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงความสงบสุขอันสูงสุดแล้วแต่ว่าใครจะไปได้แค่ไหน
top