ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก l ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก l พระไตรปิฎกวิจารณ์ l บทความพระไตรปิฎก  

หน้าหลัก
พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical Study of the Tipitฺaka)
   
  หน่วยที่ ๕ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ (Buddhist Economics)

คำจำกัดความ

คำว่า เศรษฐศาสตร์ คือวิทยาการที่ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการผลิต การกระจายสินค้าหรือกระจายรายได้ และการบริโภคทรัพย์ หรือสวัสดิการของมนุษย์
[Economics is the science treating of the production, distribution, and consumption of wealth, or the material welfare of mankind]
เศรษฐศาสตร์ คือวิชาว่าด้วยการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆ ของชุมชน มี ๒ สาขา คือ
หน่วยการบรรยาย
ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
สังคมพุทธทัศนะ
เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
ทบทวนสรุป
ทบทวนสรุป
หนังสืออ้างอิง


๑. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro-Economics) ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือปัญหาการหาตลาดเป็นต้น
๒. เศรษฐศาสตร์มหัพภาค (Macro-Economics) ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน


ข้อที่พึงพิจารณา

๑. หลักการสร้างตนทางเศรษฐกิจ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง
(๑) อุฏฐานสัมปทา ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงานประกอบอาชีพอันสุจริตมีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่องตรวจตราหาอุบายวิธี สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
(๒) อารักขสัมปทา รู้จักรักษาและคุ้มครองโภคทรัพย์ และผลงานอันตนทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรโดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตนไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย
(๓) กัลยาณมิตตตา คบคนดีเป็นมิตร คือรู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นที่อาศัย เลือกเสวนาสำเนียกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
(๔) สมชีวิตา มีความเป็นอยู่เหมาะสม คือรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟาย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้
ท่านเรียกว่า ทิฏจธมมิกตถสํวุตตนิกธมม อำนวยประโยชน์สุขเบื้องต้นสุขการมี การจ่าย ไม่มีหนี้ ไม่มีโทษ (อํ.อฏฐก. ๒๓/๑๔๔/๒๘๙)

๒. การผลิตในแง่พุทธ
(๑) ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องมีธรรมะตามหลักทิศ ๖
(๒) การผลิตต้องถือหลักสัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา
(๓) ผลิตมาก กินเก็บแต่พอดี เหลือเอาไปช่วนเหลือเพื่อนมนุษย์นี่คืออุดมการณ์ทางเศรษฐกิจของชาวพุทธ ที่ช่วยโลกได้

๓. การบริโภคในแง่ชาวพุทธ
จะต้องบริโภคด้วยโยนิโสมนสิการ ด้วยทฤษฎีคุณค่าแท้ - คุณค่าเนียมตามหลักพิจารณาด้วยปัญญา - ปฏิสังขา โยนิโส ฯลฯ
การบริโภคที่จะเกิดอัตถประโยชน์ที่สมบูรณ์นั้นจะต้องประกอบด้วยพอใจ ๓ ขั้นคือ

อัตถประโยชน์ชั้นต้น
อัตถประโยชน์ชั้นกลาง
อัตถประโยชน์ชั้นสูง
= กามฉันทะ
= กุศลฉันทะ
= ธัมมฉันทะ

๔. การแบ่งปันแบบชาวพุทธ
(๑) ไม่ขายของที่มีพิษมีโรค
(๒) แลกเปลี่ยนสิ่งของด้วยยุติธรรม
(๓) ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มนีโอคลาสิก ที่ว่า ทุนต่ำ กำไรสูง แต่มุ่งคุณค่าคุณประโยชน์ คุณภาพ
(๔) ใช้หลักสังคหวัตถในสังคม คือ
ทาน
ปิยวาจา
อัตถจริยา
สมานัตตตา
- Share
- Pleasat Speech
- Creative Thinking
- Participation

๕. แบ่งตามหลักพลี ๕ อย่าง คือ
(๑) เลี้ยงมารดาบิดาครอบครัวให้เป็นสุข
(๒) เลี้ยงมิตรสหาย ร่วมกิจการ
(๓) ป้องกันอันตราย
(๔) ทำพลี ๕ ญาติ อถิติ ปุพเปต ราชพลี เทวตา
(๕) อุปถัมภ์นักบวชที่ดี (อํ.ปญฺจก. ๒๒/๔๑/๔๘)

๖. โภควิภาค ๔
เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย
ทวีหิ กมฺมํ ปโยชเย
จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย
พึงบริโภคส่วนหนึ่ง
พึงประกอบการงานด้วยทรัพย์สองส่วน
พึงเก็บไว้เพื่อใช้ในคราวฉุกเฉินหนึ่ง

๕. รัฐสวัสดิการ
ผู้นำต้องมีจักรวรรดิวัตร ผู้ตามต้องมี กุศลกรรมบถ


จักรวรรดิวัตร คือ
๑. ธรรมาธิปไตย เคารพนับถือบูชายำเกรงธรรม ยึดธรรมเป็นหลักเป็นธงชัย เป็นใหญ่ โดยจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองอันชอบธรรมและเป็นธรรม แก่
ก. อันโตชน ชนภายใน
ข. พลกาย ฝ่ายทหาร
ค. ขัตติยะ ฝ่ายทูต
ง. อนุยนต์ ข้าราชการบริพาร ข้าราชการพลเรือนทั้งหมด
จ. พราหมณ์ คฤหบดี นักวิชาการ หมอ พ่อค้า และเกษตรกรช่วยจัดหาทุนและอุปกรณ์ให้
ฉ. เนคมชนบท ราษฎรทั้งปวงทั้งในกรุงและชายแดนไม่ทอดทิ้ง
ช. สมณพราหมณ์
ญ. มิคปักษี ให้ความคุ้มครองแก่สัตว์อันควรสงวน
๒. มา อธรรมการ ป้องกันแก้ไขสิ่งชั่วร้ายมิให้เกิดขึ้นในอาณาเขต
๓. ธนานุประทาน ปันเฉลี่ยทรัพย์ให้แก่คนยากไร้ มิให้ขัดสนในแว่นแคว้นกระจายรายได้
๔. สมณพราหมณปริปุจฉา รู้จักปรึกษารอบคอบปัญหากับสมณะ และพราหมณ์ นักปราชญ์ นักวิชาการที่มีคุณธรรมจักรวรรดิสูตร (ที.ปา. ๑๑/๓๕/๖๕)

กุศลกรรมบท ๑๐ คือ
๑. กายกรรมที่เป็นสุจริต ๓
๒. วจีกรรมที่เป็นสุจริต ๔
๓. มโนกรรมที่เป็นสุจริต ๓
ธรรมจริยา ๑๐ (ม.มู. ๑๒/๔๘๕/๕๒๓.)

แบ่งรายละเอียดดังนี้.-
๑. เว้นจากการฆ่า
๒. เว้นจากการลัก
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ
๗. เว้นจากการพูดไร้สาระ
๘. เว้นจากความโลภ
๙. เว้นจากพยาบาท
๑๐. เว้นจากความเห็นผิด
top