ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก l ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก l พระไตรปิฎกวิจารณ์ l บทความพระไตรปิฎก  

หน้าหลัก
พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical Study of the Tipitฺaka)
   
  หน่วยที่ ๑๑ สรุปเนื้อหา
๑. พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์รุ่นแรกที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้โดยอาศัยการสังคายนาร้อยกรองกันต่อๆ มาของพระพุทธสาวก ปัจจุบันพิมพ์เป็นเล่มสมุดได้ ๔๕ เล่ม เป็นพระวินัยปิฎก ๘ เล่ม เป็นพระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม และพระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
๒. หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา จะค้นพบได้ในระบบวินัยสงฆ์ซึ่งยอมรับความเสมอภาคของวรรณะต่างๆ การให้สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรมต่างๆ และให้สงฆ์รักกันฉันพี่น้อง ต้องพยาบาลรักษากันในยามป่วยไข้ ต้องมีสามัคคีธรรมในยามปกต
๓. สังคมที่พึงประสงค์ ความหลักพุทธศาสนา คือสังคมที่มีคนปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะรู้หน้าที่อันจะพึ่งกระทำตามหลักทิศ ๖ ประกอบอาชีพในทางสุจริต มีความเจริญครบทั้ง ๔ ประการคือ
หน่วยการบรรยาย
ทบทวนโครงสร้างพระไตรปิฎก
ทบทวนเนื้อหาพระไตรปิฎก
หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
สังคมพุทธทัศนะ
เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ
พุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีวิวัฒนาการกับอัคคัญญสูตร
พุทธศาสนากับการเกิดใหม่
พุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
ทบทวนสรุป
ทบทวนสรุป
หนังสืออ้างอิง
๑) ร่างกายและสิ่งแวดล้อมดี มีปัจจัย ๔ พอใช้
๒) ไม่มีการเบียดเบียนกัน คือมีระเบียบวินัย
๓) คนในสังคมมีจิตใจมั่นคงในคุณธรรม
๔) คนในสังคมนั้น มีการแก้ปัญหาด้วยวิถีทางแห่งปัญญา
(ภาวิตกาโย - ภาวิตสีโล - ภาวิตจิตโต - ภาวิตปัญญา)
๔. เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คือระบบการสร้างตนด้วยประโยชน์ปัจจุบัน รู้จักผลิตมาก กินอยู่แต่พอดีที่เหลือเอาไปจุนเจือสังคม การบริโภคจะต้องรู้จักคุณค่าแท้คุณค่าเทียมของปัจจัย ๔ การแลกเปลี่ยนก็ต้องเป็นไปโดยยุติธรรม ไม่ค้าขายสิ่งที่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์และสังคม รัฐสวัสดิการก็ต้องเป็นรัฐสวัสดิการโดยธรรม เป็นธัมมิกสังคมเศรษฐกิจ
๕. การศึกษากับพระพุทธศาสนาเป็นของคู่กัน เพราะการตรัสรู้ก็คือกระบวนการทางการศึกษาโดยวิธี ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคมีองค์ ๘ เป้าหมายของการศึกษาแบบพุทธ คือ วิมุตติ- การดับทุกข์ได้ ดับความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ มีแต่ปัญญา และกรุณาอันบริสุทธิ์ต่อมนุษย์และสัตว์
๖. วิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา แม้จะเพียงบางส่วนเหมือนกัน คือ รักเหตุผล ความจริง และชอบแสวงหาความจริงด้วยปัญญา แต่จุดต่างๆ คือ จริญธรรมวิทยาศาสตร์ไม่เกี่ยวกับความดีความชั่ว แต่พระพุทธศาสนาเกี่ยวกับความดีความชั่ววิทยาศาสตร์ให้เพิ่มพูนความสมบูรณ์ทางวัตถุแต่พระพุทธศาสนา ให้รู้จักลดละและพอใจ
๗. อัคคัญสูตร กับทฤษฎีวิวัฒนาการ มีข้อที่คล้ายกันหลายประเด็นโดยเฉพาะในทฤษฎีวิวัฒนาการของมนุษย์ แต่พระพุทธศาสนาจะเน้นที่ว่า คนที่มีวิชชาและจรณะชื่อว่า เป็นคนเลิศที่สุดในเทวดาและมนุษย์
๘. การเกิดใหม่เป็นทฤษฎีที่มนุษย์ชอบสงสัย การสอนศีลธรรมแก่เยาวชนจึงควรมีหตุผลพอที่จะพิสูจน์เรื่องการเกิดใหม่ เพื่อจะได้ปลูกโลกิยศรัทธา-สัมมาทิฐิจะได้สร้างความดีมากๆ ให้ชีวิตมีสุข
๙. เทวนิยม คือศาสนาที่ถือว่ามนุษย์มีความสัมพันธ์ ๒ ลักษณะคือระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันเอง มนุษย์เป็นลูกหรือฉายาของพระเจ้า แต่ในทัศนะของพระพุทธศาสนา มนุษย์เกิดจากการรวมกันของขันธ์ ๕ ตามหลักปัจจยาการ อาศัย กรรม จิต อุตุอาหาร เป็นตัวหล่อเลี้ยงให้ดำเนินไปการจะเกิดเป็นเทวดาหรือลงนรกอยู่ที่การกระทำของตนเอง และการสามารถเข้าถึงนิพพานก็ด้วยพลกำลังของตนเอง
ถ้าพระเจ้าคือ ธรรมศาสนาก็คือได้ว่า เทวนิยม แต่ถ้ายังถือว่า God คือมีตัวมีตน พระพุทธศาสนาก็เป็นพระพุทธศาสนา หรือสัจจนิยมนั่นเอง
top