|
พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical
Study of the Tipitฺaka)
|
|
หน่วยที่ ๑๐ พระพุทธศาสนากับศาสนาเทวนิยม
คำว่า
Theism มีความหมายดังนี้.-
A religions or philosophical
doctrine utilizing the concept of deity to explain man's existence,
as opposed to atheism : the doctrine that all things originate
in a unitary God; monotheism, as opposed to polytheism; the
doctrine that one God is the deep transcendent mystery in all
reality and, at the some time, the xreative immanent reality
within all actionas opposed to pantheism and deism.
|
|
|
เทวนิยม
คือ คำสอนทางศาสนาหรือปรัชญาซึ่งยอมรับความคิดเกี่ยวกับเทวดาว่ามีอิทธิพลต่อมนุษย์
ซึ่งตรงกันข้าม กับอเทวนิยม คำสอนซึ่งถือว่าทุกสิ่งมีต้นกำเนิดจากพระเจ้าองค์เดียว
ซึ่งตรงข้ามกับพหุเทวนิยมคำสอนซึ่งถือว่าพระเจ้าองค์เดียวซึ่งเป็นสิ่งลึกลับเหนือโลกีย์ทั้งมวล
ในสัจจะต่างๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวกระตุ้นในการกระทำทุกอย่าง
ซึ่งแย้งกับนานาเทวดา หรือพหุเทวดา
พระพุทธศาสนาถือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ของมนุษย์
พระพุทธศาสนาถือว่าเทวดาเป็นขบวนการหนึ่งของสังสารวัฏ
แต่เป็นสุคติภพ เป็นสัตว์ที่อยู่ในภพที่ดีอายุยืนยาว และมีอานุภาพมากกว่ามนุษย์ธรรมดา
แต่ด้อยกว่าอริยชน พระพุทธศาสนาจึงแบ่งออกเป็น ๓ คือ
๑. สมมติเทวดา
|
ในโลกนี้ |
กษัตริย์ผู้นำ |
๒. อุปปัตติเทวดา
|
ในโลกอื่น |
เทวดาแท้ |
๓. วิสุทธิเทวดา
|
ในโลกนี้ |
อริยชน |
(ขุ.จู.ฬ. ๓๐/๖๕๔/๓๑๒)
ดังนั้น คนจะไปเกิดเป็นเทวดาต้องมีเทวธรรม
คือ หิริโอตตัปปะ สุกกธรรม สันติธรรม สัปปุริสธรรม แต่ถ้าใครถือว่า
๑. เทวดามีอำนาจเหนือตน (อิสสรนิมมานเหตุ)
บันดาลทุกอย่าง (Theistic-determinism)
๒. ปุพเพกตเหตุ เชื่อแต่กรรมเก่าอย่างเดียว
(Past-action)
๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ
ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (accidentalism) ทั่ง ๓ นี้ เป็นมิจฉาทิฐิ
ดังนั้น ท่าทีของเราต่อเทวดา
คือ เป็นมิตรกัน แผ่เมตตาต่อกัน ทำพลีต่อกันด้วยคุณธรรม
ตามหลักเมตตสูตร
ดังนั้น ท่าทีของเราต่อเทวดา คือ เป็นมิตรกัน แผ่เมตตาต่อกัน ทำพลีต่อกันด้วยคุณธรรม
ตามหลักเมตตสูตร
เทวดาอาจกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ มนุษย์ก็เป็นเทวดาได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยต่างก็เป็นเพื่อนในสังสารวัฏแท้ๆ
เทวดา มี ๒ ประเภท คือ
- สัมมาทิฐิเทวดา
- มิจฉาทิฐิเทวดา
ถ้าถามว่า พระพุทธศาสนามี God หรือไม่? คำถามปฏิปุจฉา
คือ God คืออะไร?
ถ้า God คือ
|
Omni
- presence |
|
Omni
- Savior |
|
Omni
- potential |
ธรรมก็มีสิ่งดังกล่าว ถ้า God คือ Dhamma, Buddhism is Theism.
แต่ถ้า God is Personal God. Buddhism is not Theism but
Realism. พระพุทธศาสนามีแต่ Dhamma God เช่น God of Peace,
Love, Mercy, Wisdom, Purity, etc.
ธรรมะที่มีลักษณะ Omni - Presence คือมีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง คือ
กฏอิทัปปัจจยตา กฏปฏิจจสมุปบาท ที่ว่า
เมื่อสิ่งนี้มี
|
สิ่งนี้จึงมี |
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี |
สิ่งนี้ก็ไม่มี (สํ.นิ.) |
อีกอย่างหนึ่งกฎของสภาวะธรรมที่ว่า
พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม ธรรมนิยาม ธรรมฐิติ ธรรมธาตุ
หรือกฎที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์
และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ก็ยังคงมีอยู่ พระตถาคตเป็นเพียงรู้เห็น
แล้วนำมาเปิดเผยแจกแจง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ
ธรรมนิยามสูตร
ธรรมที่มีลักษณะเป็น Omni -savior
คือที่พึ่งตลอดไป จนเห็นได้จากลักษณะดังนี้
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติอยู่เนืองๆ นำสุขมาให้
นั่นเป็นผลแห่งการประพฤติธรรมเป็นนิตย์
คนประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
ชนเป็นอันมาก เมื่อถูกภัยคุกคาม
ย่อมถึงภูเขา ป่าไม้ ป่าไม้สน ต้นไม่ใหญ่และเจดีย์ ว่าเป็นที่พึ่ง
นั่นไม่ใช่สรณะอันปลอดภัย ไม่ใช่สรณะอันสูงสุด อาศัยที่พึ่งเช่นนั้น
ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ แต่ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่ง เขาย่อมเห็นอริยสัจด้วยปัญญาอันชอบ
คือ.-
๑. ทุกข์
๒. เหตุเกิดของทุกข์
๓. การก้าวล่วงทุกข์ได้
๔.
มรรคมีองค์ ๘ อันจะนำไปสู่ความสงบระงับแห่งความทุกข์
นั้นคือ สรณะอันเกษม นั่นคือสรณะอันอุดม
อาศัยที่พึ่งเช่นนั้นแล้วย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
ธรรมที่เป็นลักษณะ (Omni - potential)
คืออำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพธรรม
( สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ โลกุตตรธรรม
ดังพุทธพจน์
การเข้าถึงกระแสโลกุตตรธรรม คือ พระโสดาปัตติผล ยิ่งใหญ่กว่าการเป็นพระราชาในปฐพี
การไปสู่สวรรค์ หรือการเป็นใหญ่ในจักรวาล
(ขุ.ธ. ๒๕/๒๔/๓๙)
แม้กฎแห่งกรรมก็มีว่า
หว่านพืชเช่นไร
ทำกรรมดีได้ผลดี |
ได้ผลเช่นนั้น
ทำกรรมชั่วได้ผลชั่ว |
ดังนั้น ธรรมและอธรรมจึงมีกำลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ
อยู่ ธรรมควบคุมให้เป็นไปในทางที่ดี อธรรมควบคุมให้เป็นไปในทางที่ไม่ดี
ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับ เทวนิยม ในพระพุทธศาสนานั้น กล่าวไว้ว่าพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญคนที่ประพฤติตนให้เข้าถึง
วิสุทธิเทพมากกว่า เพราะสภาวะเช่นนี้ สามารถที่จะนำให้พ้นทุกข์ได้และช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้ด้วย
เทวดานอกจากนี้นั้น ท่านกล่าวว่า ไม่สามารถจะช่วยคนให้พ้นทุกข์ได้เด็ดขาด
และที่สำคัญคือ เทวดาทุกคนนั้น
อวีตราโค |
ยังมีราคะ |
อวีตโทโส |
ยังมีโทสะ |
อวีตโมโห |
ยังมีโมหะ |
ภิรุ |
มีความกลัว |
ฉัมภี |
มีขนลุก |
อุตตราสี |
มีความสะดุ้ง |
ดังนั้น ถ้าทำตนให้เป็นวิสุทธิเทพแล้ว
จะหมดทั้งราคะ โทสะ โมหะ ไม่สะดุ้ง ไม่ขนลุก ไม่ขนพอง
ไม่มีความกลัวอีกต่อไป เพราะหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
|
|
top
|
|